http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,395
เปิดเพจ1,326,348

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

ประวัติความเป็นมาของกระบี่กระบอง

ประวัติความเป็นมาของกระบี่กระบอง

เริ่มต้นกำเนิดกระบี่กระบองที่แท้จริงนั้นไม่ทราบแน่ชัด ว่าเริ่มต้น กันตั้งแต่ครั้งไหนและใครเป็นผู้คิดค้นขึ้น เพราะไม่สามารถค้นคว้าจากแหล่ง
ใดได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านครูบาอาจารย์รุ่นเก่า ๆ ที่ได้เล่าเรียนและได้เคยสอนแต่ในทางปฏิบัติอย่างเดียวมิได้ห่วงใยที่จะสั่งสอน ในทางทฤษฎีเลย
ฉะนั้นศิษย์จึงขาดความรู้ในด้านนี้เสียสิ้น แต่ด้วยเหตุที่ไทย เราเป็นนักรบแต่โบราณกาล กระบี่กระบองซึ่งเป็นเกมของนักรบก็น่าจะได้ริเริ่มกัน เป็นเวลานาน
แล้วด้วยเหมือนกัน  ท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นผู้หนึ่งที่ได้เล่าเรียนวิชานี้มาตั้งแต่ยัง เป็นเด็กและเป็นผู้ที่รักใคร่ในศิลปะวิชานี้อยู่เสมอในโอกาสที่ท่านได้เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพลศึกษากลาง ท่านก็ได้ทดลองสอนนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2478 ต่อมาจึงได้กำหนดวิชา กระบี่กระบองไว้ในหลักสูตรของประโยคครูผู้สอนพลศึกษา เมื่อปีพ.ศ.2479 นับแต่นั้นมา ได้มีผู้เล่าเรียนและสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ  บรรดาผู้ที่เล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการเป็นครูสอนวิชาพลศึกษา ได้พยายามสอนวิชากระบี่กระบองไปเผยแพร่และเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก จนกระทั่งปัจจุบันนี้ได้บรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่วไป จึงนับได้ว่า ศิลปะชิ้นนี้นอกจากจะไม่สูญหายไปจากโลกแล้วคงจะเจริญก้าวหน้าหรือแสดงถึง
ความเป็นเจ้าของในวิชาการแขนงนี้ได้ในอนาคต

สำหรับเครื่องกระบี่กระบองนั้นมี กระบี่ ดาบ ง้าว พลอง ดั้ง เขน โล่ และไม้สั้น ซึ่งจำลองมาจากอาวุธจริง ๆ ก็มี กระบี่ ดาบ ง้าวและพลองเท่านั้น 

เครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ นักกระบี่กระบองมักจะเรียกว่า "เครื่องไม้" แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เครื่องไม้รำ
2. เครื่องไม้ตี

เครื่องไม้รำ ได้แก่ เครื่องกระบี่กระบองซึ่งจำลองมาจากอาวุธจริง แต่ไม่ค่อยจะเหมือนทีเดียว เพราะมุ่งไปในแง่ความสวยงามมากกว่าอย่างอื่น เมื่อเครื่องไม้นี้ประสงค์
จะเอาสวยงามเป็นใหญ่แล้วอาจจะแบบบางไม่แข็งแรง ผู้แสดงจึงต้องรำด้วยความระมัดระวังที่สุด ไม่ยอมให้กระทบกระแทกกับวัตถุอื่นใด ได้เลยเป็นอันขาดถ้าไม่
สามารถสร้างเครื่องไม้รำสำหรับอาวุธบางชนิดขึ้นได้แล้วตามปกติ เขามักจะนำอาวุธอันแท้จริงมารำแทน ซึ่งก็นับว่างดงามและเหมาะสมดีไม่น้อย

เครื่องไม้ตี ได้แก่ เครื่องกระบี่กระบองซึ่งจำลองมาจากอาวุธจริง เป็นเพียงดูพอรู้ว่าเป็นอะไรเท่านั้น จุดมุ่งหมายของการสร้าง คือ ต้องการให้เบา เหนียว และแข็งแรง
ไม่หักงอง่าย เพื่อจะได้ใช้ตีกันอย่างทนทาน ไม่สิ้นเปลืองและไม่เกิดอันตราย

ส่วนประกอบของกระบี่
ตัวกระบี่มักทำด้วยหวายเทศ เพราะมีน้ำหนักเบาและเหนียว หากหาไม่ได้มักจะใช้หวายโปร่งแทน ยาวประมาณ 1 เมตร โกร่งกระบี่มักทำด้วยหนังสัตว์มีไว้ป้องกันมือที่จับ

ประโยชน์ของการเล่นกระบี่กระบอง 1. สามารถใช้ในการป้องกันตัวได้เมื่อยามคับขัน
2. เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและคุณลักษณะทางด้านจิตใจ
1.1 มีความแข็งแรง มีความทนทาน มีความคล่องแคล่วว่องไว
1.2 ช่วยให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี
1.3 มีจิตใจกล้าหาญ อดทน หนักแน่น
1.4 มีอารมณ์สุขุมเยือกเย็น และเชื่อมั่นในตนเอง
1.5 มีการตัดสินใจที่ดี
3. เป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย
4. เป็นการสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปะประจำชาติ

เครื่องดนตรีประกอบการเล่นกระบี่กระบอง


o ปี่ชวา

o กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง)

o กลองแขกตัวเมีย (เสียงต่ำ)

o ฉิ่งจับจังหวะ

ชื่อไม้รำ 12 ไม้รำ

ไม้รำที่ 1 ลอยชาย                  ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู                  ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง                 ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก                    ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา
ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง        ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง          ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 7 ท่ายักษ์                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง 
ไม้รำที่ 8 สอยดาว                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 9 ควงแตะ                   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 10 หนุมานแหวกฟองน้ำ   ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง
ไม้รำที่ 11 ลดล่อ                    ลักษณะการเดิน  เดินแบบเดินตรง   
ไม้รำที่ 12 เชิญเทียน               ลักษณะการเดิน  เดินแบบสลับฟันปลา

ขอบคุณแหล่งที่มาบทความ  

http://www.wt.ac.th/~phonthong/kabee03.html



แบบทดสอบประวัติวิชากระบี่กระบอง

1. การเล่นกระบี่กระบองช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้านใดมากที่สุด

ก.       ความแข็งแรง

ข.       ความเร็ว

ค.       กำลัง

ง.        ความแคล่วคล่องว่องไว

2. กระบี่เป็นอาวุธที่สำคัญของการใดของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ

ก.         ทหาร

ข.         ตำรวจ

ค.         นักกีฬา

ง.          นักล่าสัตว์

3. กระบี่กระบองเป็นที่นิยมแพร่หลายของประชาชนในรัชกาลใดมากที่สุด

ก.       รัชกาลที่ 2

ข.       รัชกาลที่ 5

ค.       รัชกาลที่ 4

ง.        รัชกาลที่ 3

4. การเล่นกระบี่จะช่วยฝึกน้ำใจได้ดีเลิศอย่างไร

ก.       ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ข.       ทำให้มีความกล้าหาญ

ค.       ทำให้มีความอดทน

ง.        ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

5. วิชากระบี่กระบองได้รับการบรรจุไว้ในหลักสูตรการเรียนในระดับใดเป็นครั้งแรก

ก.       มัธยมศึกษาปีที่ 2

ข.       อาชีวศึกษา

ค.       ระดับประถมศึกษา

ง.        ประโยคครูผู้สอนพลศึกษา

 6. ข้อใด ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมกระบี่ในสมัยโบราณ

ก.       ทำการรบได้ทุกโอกาส

ข.       มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว

ค.       ป้องกันอันตราย

ง.        บำรุงร่างกายให้แข็งแกร่ง

7. การเล่นกระบี่กระบองแบบจำลองในสมัยโบราณมีวัตถุประสงค์อย่างไร

ก.       เพื่อหาผู้ที่มีความสามารถ

ข.       เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ค.       เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ง.        เพื่อฝึกซ้อมและเตรียมตัวในยามสงบ

8. การเล่นกระบี่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร

ก.       ช่วยสืบทอดมรดกอันสำคัญประจำชาติ

ข.       ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ค.       ช่วยอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติ

ง.        ช่วยรักษาวัฒนธรรมอันดี

9. การเรียนกระบี่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ก.       ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ข.       ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ค.       การต่อสู้ในสงคราม

ง.        ทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

10. รัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบองในงานสมโภชใดเป็นครั้งแรก

ก.       ทอดกฐิน

ข.       งานโกนจุก

ค.       งานบวชนาค

ง.        ทอดผ้าป่า

 

ขอบคุณที่มาบทความ

http://www.wt.ac.th/~phonthong/kabee08.html

การถวายบังคม
เป็นการเคารพครูบาอาจารย์กระบี่กระบอง ซึ่งถือว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีมีความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะถือว่า การเคารพครูเป็นสิริมงคล และทำให้ปลอดภัยจากการเล่น
หรือการแสดงในครั้งนั้น ๆ ด้วย

ท่าถวายบังคม (สำหรับพรหมนั่ง)

 
           1                  2                      3
  • นั่งคุกเข่า ให้เข่าห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่ นั่งบนส้นเท้า ตัวตรง แขนอยู่ข้างลำตัววางกระบี่ไว้ข้างซ้ายมือ โกร่งกระบี่อยู่ระดับ เข่าปลายกระบี่ชี้ไปข้างหลัง
  • พนมมือไว้ระหว่างอก
  • ยกมือขึ้นไหว้ ก้มศีรษะลง ให้นิ้วหัวแม่มือแตะระหว่างคิ้ว

 
        4                            5                    6
  • ก้มตัวลดมือลง จีบมือทั้งสองข้างแล้ววาดออกคล้ายเขียนวงกลม
  • มือทั้งสองบรรจบกัน พนมมือ 
  • ดึงมือเข้าหาลำตัวระดับอก ก้มศีรษะ
  • ค่อย ๆเหยียดมือทั้งสองไปข้างหน้าโดยแยกฝ่ามือออกหันฝ่ามือลง
    สู่พื้นให้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างชิดกัน
  • ยกมือขึ้นพร้อมกับเหยียดตัวเงยหน้า ให้นิ้วหัวแม่มือมาจดระหว่าคิ้ว
  • กลับมาสู่ท่าเริ่มโดยเหยียดแขนขึ้นและวาดลงเข้าสู่การพนมมือระดับ
    อกเหมือนเดิม และเริ่มถวายบังคมในครั้งที่สองต่อไป 
  • ทำครบสามจบให้อยู่ในท่าพนมมือที่หน้าอก เป็นการเสร็จสิ้นการ ถวายบังคม

          7                       8                              9



การขึ้นพรหม
การขึ้นพรหม เป็นขนบธรรมเนียมอีอย่างหนึ่งของกระบี่กระบอง เพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจคือ พรหมวิหารสี่ อันเป็นคุณธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมะที่ขจัดความพาล
ไม่นำเอาวิชากระบี่กระบองไปใช้ในทางที่ผิด เป็นผู้ที่เปี่ยมด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ด้วยเหตุที่พรหมมี 4 หน้า หน้าหนึ่ง ๆ หมายถึงคุณธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้น
การขึ้นพรหมต้องรำให้ครบ 4 ทิศ และในการขึ้นพรหมของกระบี่กระบองนั้นมี 2 อย่างคือ
1. การขึ้นพรหมนั่ง
2. การขึ้นพรหมยืน


การขึ้นพรหมนั่ง


        1                         2                        3
  • จากท่านั่งเมื่อถวายบังคมเสร็จแล้ว
  • หันหน้าไปทางซ้ายก้มตัวลงไหว้กระบี่
  • เอามือขวาจับกระบี่ มือซ้ายจีบไว้ที่หน้าอก
  • ยกกระบี่ขนานพื้น ข้ามศีรษะทางขวา
  • กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น โกร่งกระบี่หันออกนอกลำตัว หงายมือ ข้อศอกงอเป็นมุมฉากชิดลำตัว ตั้งเท้าขวาไว้ข้างหน้า นั่งบนส้นเท้าซ้าย
  • ชักเท้าขวามานั่งคุกเข่า ตั้งเท้าซ้ายไว้ข้างหน้า นั่งบนส้นเท้าขวา


        4                                5                         6


           7                                8                           9
  • โล้ตัวไปข้างหน้าโดยวางเข่าซ้ายลง ยกเท้าขวาขึ้น แล้วมือซ้ายรำหน้า 
    ระดับหน้าผาก
  • หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา โดยยกเข่าทั้งสองขึ้น พร้อมกับวาดกระบี่
    ไปทางซ้าย กระบี่ขนานพื้น
  • วางเข่าซ้ายลง นั่งบนส้นเท้าซ้าย ตั้งเข่าขวาขึ้น กระบี่แนบลำตัวทาง
    ซ้ายมือซ้ายจีบอยู่ที่หน้าอก
  • มือซ้ายรำข้างระดับใบหู โดยให้แขนงอโค้งเล็กน้อย 
  • วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบที่หน้าอก
  • ในขณะที่วาดกระบี่มาทางขวาสุดแล้วให้ดึงเข่าขวาวางบนพื้นและ
    ตั้งเข่าซ้ายขึ้น


          10                      11            12


           13                                14                         15
  • โล้ตัวไปข้างหน้าวางเข่าซ้ายลง ยกเท้าขวาขึ้น มือซ้ายรำหน้า
  • หมุนตัวไปทางขวา ดึงมือซ้ายมาจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปอยู่ทางซ้าย 
    ชิดลำตัวตั้งเข่าขวาบิดเข่าซ้ายไปทางขวาวางเข่าซ้ายลงนั่งบนส้น
    เท้าซ้าย
  • มือซ้ายรำข้าง
  • ดึงมือซ้ายมาจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปทางขวากระบี่ขนานพื้น ดึงเข่า 
    ขวาวางไว้ที่พื้น ตั้งเข่าซ้ายขึ้น
  • โล้ตัวไปข้างหน้า วางเข่าซ้ายลงบนพื้น ยกเท้าขวาขึ้น แล้วรำหน้า
  • หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปทางซ้าย
    กระบี่ชิดลำตัว ลุกขึ้นยืนด้วยเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นให้ขาขวารองรับ 
    ศอกขวา


                          16                   17               18

         19                          20                   21                            
  • มือซ้ายรำข้าง วาดกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ มือซ้ายจีบเข้าอก
  • วางเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง 
    กระบี่อยู่ทางขวา อยู่ในท่าคุมรำ


การขึ้นพรหมยืน
ในท่าถวายบังคม วางกระบี่ให้ชี้ปลายไปข้างหน้า ห่างจากเข่า 1 คืบ

          1                                 2                  3
  • จากท่านั่ง เมื่อถวายบังคมเสร็จแล้ว ก้มตัวลงข้างหน้า ไหว้กระบี่
  • มือขวาจับกระบี่ทัดหูให้โกร่งกระบี่อยู่ข้างบนปลายกระบี่ชี้ไปข้างหน้า
    มือซ้ายจีบอกพร้อมทั้งตั้งเข่าซ้าย
  • จ้วงกระบี่ลงทางซ้ายพร้อมกับลุกขึ้นยืนด้วยเท้าซ้าย หันตัวไปทางขวา 
    หนึ่งมุมฉาก ยกเข่าขวาขึ้นรับศอกขวา กระบี่เฉียงออก 45 องศา
  • มือซ้ายรำข้างแล้วจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง
  • ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว กระบี่ทัดหู โล้ตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • วางเท้าซ้ายลง จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว 
    พลิกระบี่ไปอยู่ข้างหน้า โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว กระบี่เฉียง 45 องศา

          4              5                      6                      7

          8                9                     10               11
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น 
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
  • วางเท้าขวาลงหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย กระบี่ทัดหู
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย
  • ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก
    1 ก้าวพร้อมกับพลิกกระบี่ไปข้างหน้าเฉียง 45 องศา โกร่งกระบี่หัน
    เข้าหาตัว เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง
  • วางเท้าขวาข้างเท้าซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่ง 
    กระบี่หันขึ้นข้างบน มือซ้ายจีบที่อก โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเข่า
    ขวาตึง


     12            13          14                     15 

16                    17             18         19             20
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงข้างซ้าย วางเท้าซ้ายลง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว 
    พลิกกระบี่ให้เฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว 
    เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
  • วางเท้าขวาลงข้างหน้า แล้วหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้ายยกกระบี่ขึ้น
    ทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงข้างซ้าย วางเท้าซ้ายลง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว 
    พลิกกระบี่ให้เฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว 
    เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อกวางเท้าขวาลงข้างหน้า แล้วหมุนตัว
    กลับหลังหันทางซ้ายยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบนโล้ตัว 
    ไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง



       21             22                23                         24

         25                                              26
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่หน้าอก
  • ควงกระบี่สองรอบ 
  • วางเท้าขวาเฉียงไปทางขวา กระบี่อยู่ข้างขวา แขนขวาชิดลำตัว 
    ศอกเป็นมุมฉาก กระบี่ขนานพื้น โล้ตัวไปข้างหน้าอยู่ในท่าคุมรำ


ไม้รำที่ 1 ลอยชาย (เดินสลับฟันปลา)


ท่าคุมรำ

  • มือซ้ายจีบที่หน้าอก ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า 
    เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น หงายมือ โกร่ง
    กระบี่อยู่ด้านนอก แขนท่อนบนอยู่ชิดลำตัว ข้อศอกงอเป็นมุมฉาก 
  • ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น เข่าซ้ายงอเป็นมุมฉาก ขาท่อน 
    บนขนานพื้น เข่าขวาตึง
  • มือซ้ายรำหน้า แล้วจีบไว้ที่หน้าอก
  • หมุนตัวต่อไปทางซ้าย 1 มุมฉาก วางเท้าซ้ายลงวาดกระบี่ขนานพื้น
    ไปทางซ้ายไว้ข้างเอว โกร่งกระบี่อยู่ด้านนอก ก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว
    โล้ตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก 
  • หมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉากวาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา วางเท้า 
    ขวาลง พลิกข้อมือหงาย อยู่ในท่าคุมรำ



ไม้รำที่ 2 ควงทัดหู ( เดินสลับฟันปลา )
  • จากท่าคุมรำ
  • ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปข้างขวา 1 ก้าว ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ 
    พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากพร้อมกับจ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้า
    ซ้ายลงแล้วก้าวเท้าขวาไปอีก 1 ก้าว พลิกกระบี่ไปอยู่ข้างหน้าลำตัว 
    กระบี่ เฉียงออก 45 องศา โกร่งกระบี่หันเข้าหาลำตัว
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวาแล้วยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง
  • หมุนตัวกลับไปทางขวา 1 มุมฉาก มือซ้ายจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง 
    กลับมาอยู่ในท่าคุมรำ


ไม้รำที่ 3 เหน็บข้าง ( เดินตรง )

ท่าคุมรำ
  • ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้า
1
23
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • มือซ้ายรำหน้า
  • วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายมาจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังทางขวา
  • หมุนข้อมือ บิดไปทางขวา ให้โกร่งกระบี่อยู่นอกกระบี่เฉียงลง 45 
    องศา แขนขวาชิดข้างหู งอแขนเล็กน้อย หน้าก้ม โล้ตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
45-6
78
  • หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ขณะที่ยกเท้าขวาอยู่โดยใช้เท้าซ้ายเป็น
    หลัก วางเท้าขวาลง
  • ลดกระบี่ลงอยู่ข้างเอวทางซ้าย ฝ่ามือซ้ายทาบกระบี่ โกร่งกระบี่หัน ลงสู่พื้น ปลายกระบี่ชี้ลง โล้ตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก 
    อยู่ในท่าคุมรำ
910


ไม้รำที่ 4 ตั้งศอก ( เดินสลับฟันปลา )
  • ท่าคุมรำ
  • ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางขวา 45 องศา พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นทัดหู 
    โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า

 1                            2

          3                                   4
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • ยกมือซ้ายมาตั้งศอกที่เข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะกระบี่หันฝ่ามือไปทางขวา
  • หมุนตัวไปทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบที่หน้าอก และลดกระบี่ 
    มาอยู่ข้างหน้าเฉียงขึ้น 45 องศา พลิกข้อมือ หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว 
    ก้าวเท้าขวาไปข้าหน้าเฉียงไปทางซ้ายอีก 1 ก้าวโล้ตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าซ้ายขึ้น

      5                                        6

           7                                                  8
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่หน้าอก
  • หมุนตัวไปทางขวา 1 มุมฉาก วางเท้าขวาลง วาดกระบี่ไปทางขวา 
    กลับไปอยู่ในท่าคุมรำ


ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ( เดินตรง )
  • ท่าคุมรำ
  • ควงกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้าง
    หน้า ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า

1                            2

         3                                4
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง
  • ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว พลิกข้อมือให้กระบี่เฉียงอยู่ข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวไปข้างหน้า
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก

         5                                 6                               7                                    


                     8                                9
  • วางเท้าขวาลงข้างหน้า หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหู
    โล้ตัวไปข้างหน้า 
  • ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ถอยเท้าซ้ายวางไว้หลังเท้าขวา
  • พลิกข้อมือให้กระบี่อยู่ข้างหน้าเฉียง45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหา ลำตัว โล้หน้า
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น

                10                      11                    12

            13                            14                           15
  • มือซ้ายรำข้าง แล้วกลับมาจีบไว้ที่หน้าอก
  • วางเท้าขวาลงข้างหน้า
  • หมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า
  • ก้าวเท้าขวาเฉียงไปข้างหน้า 1 ก้าว กลับมาสู่ท่า คุมรำ

                        16 


ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง หรือควงป้องหน้า ( เดินตรง )
  • ท่าคุมรำ
  • ควงกระบี่สองรอบพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว 
    พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา
    โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า

1                         2

               3                                         4
  • มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า แขนงอเล็กน้อย หน้าก้มให้มือซ้ายรำอยู่ ใต้โกร่งกระบี่
  • ลาดเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
  • วางเท้าซ้ายลง มือซ้ายจีบไว้ที่อก หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา พร้อม 
    กับควงกระบี่สองรอบ 
  • พลิกข้อมือขวาให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงลงไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา
    โกร่งกระบี่หันออก แขนขวาชิดหู โล้ตัวไปข้างหน้า

5                                    6

                  7                                    8
  • มือซ้ายรำออกไปข้างหน้า ให้มือซ้ายรำอยู่ใต้โกร่งกระบี่ แขนงอเล็ก
    น้อยหน้าก้ม
  • ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น

        9                     10                                                          11
  • หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา ยกกระบี่ไปข้างหน้าทางขวามือซ้าย 
    จีบไว้ที่หน้าอก
  • วางเท้าขวาลง 
  • กลับเข้าสู่ท่าคุมรำ


ขอบคุณที่มาบทความ

http://www.wt.ac.th/~phonthong/kabee08.html

ไม้ตีที่ 1

ท่าคุมตีลูกไม้
  • ท่าคุมตีลูกไม้เป็นท่ายืนเตรียมพร้อมก่อนที่จะฝึกหัดตีลูกไม้โดยยืน เท้าชิด หันหน้าเข้าหากัน มือจับกระบี่อยู่ทางขวา ปลายกระบี่พิงอยู่ 
    ที่ไหล่ขวา แขนเหยียดตึง โกร่งกระบี่อยู่ข้างหน้า แขนซ้ายอยู่ข้าง
    ลำตัว

จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
ฝ่ายรับฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้าย 
    ของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
  • ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย 
    กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่ 2
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับ
    การตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้าย
    ลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
ฝ่ายรับฝ่ายรุก

ไม้ตีที่ 2
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้าย 
    ของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
  • ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่
    เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่ 2
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตี ลงทางด้านไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อรับการตีของฝ่ายรุกให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับ 
    ลดแขนซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่ 3
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตี
    ของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น

จังหวะที่ 4
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลง ทาง ขาขวาของฝ่ายรับ มือซ้ายลดลง
  • ฝ่ายรับถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พร้อมกับพลิกกระบี่กลับไปรับทางขวา
    มือซ้ายลดลง

ไม้ตีที่ 3
 
จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ 
    ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
  • ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย 
    กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่ 2
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับ
    การตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้าย 
    ลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
ฝ่ายรุก

จังหวะที่ 3
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรับ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ขาซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้น
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับลดปลายกระบี่ลงไปรับการตี 
    ของฝ่ายรุกทางซ้าย มือซ้ายยกขึ้น

จังหวะที่ 4
  • ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ตวัดไปตีลงทางขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลง
  • ฝ่ายรับ ยกเท้าขวาเหวี่ยงขึ้นไปทางซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย พร้อมกับพลิกกระบี่ไปรับการตีของฝ่ายรุก มือซ้ายลดลง
ฝ่ายรุก

ไม้ตีที่ 4

จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ 
    ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
  • ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย 
    กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย
จังหวะที่ 2
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อ
    รับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขน 
    ซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า

จังหวะที่ 3
 
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว 
    ทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆยกขึ้นข้างหลัง
  • ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของ 
    กระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง

จังหวะที่ 4
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว ทางขวาของคู่ต่อสู้ 
  • ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวา 
    ไปข้างหลัง

ไม้ตีที่ 5

จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่
    ซ้ายของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
  • ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้าย ให้ปลาย
    กระบี่เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่ 2
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวา เพื่อ
    รับการตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขน
    ซ้ายลงป้องกันอยู่ข้างหน้า
ฝ่ายรุก
จังหวะที่ 3
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว 
    ทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
  • ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของ 
    กระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง

จังหวะที่ 4
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว
    ทางขวาของคู่ต่อสู้ 
  • ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บน พร้อมกับถอยเท้าขวา
    ไปข้างหลัง
ฝ่ายรุก

จังหวะที่ 5
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของ 
    ฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นด้านหลัง
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ 
    มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น

ไม้ตีที่ 6

จากท่าคุมตีลูกไม้ จังหวะที่ 1
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นตีลงทางไหล่ซ้าย 
    ของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นป้องระดับหู มือกำหลวม ๆ
  • ฝ่ายรับถอยเท้าซ้าย พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับทางไหล่ซ้ายให้ปลายกระบี่
    เฉียงเข้าหาลำตัว มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลังทางซ้าย

จังหวะที่ 2
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายเข้าหาคู่ต่อสู้ พร้อมกับตวัดกระบี่ไปตีลงทางด้าน 
    ไหล่ขวาของคู่ต่อสู้ มือซ้ายลดลงป้องอยู่ข้างหน้าลำตัว
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง พลิกกระบี่หมุนกลับไปทางขวาเพื่อรับ
    การตีของฝ่ายรุก ให้ปลายกระบี่เฉียงเข้าหาตัวพร้อมกับลดแขนซ้ายลง 
    ป้องกันอยู่ข้างหน้า
ฝ่ายรุก
จังหวะที่ 3
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว 
    ทางซ้ายของคู่ต่อสู้ มือซ้ายกำหลวม ๆ ยกขึ้นข้างหลัง
  • ฝ่ายรับ ลดกระบี่ลงมารับทางซ้ายของลำตัว มือซ้ายจับส่วนปลายของ 
    กระบี่ หันฝ่ามือออกข้างนอก กระบี่ตั้งตรงและถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง

จังหวะที่ 4
  • ฝ่ายรุกก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับตวัดกระบี่กลับไปตีตัดลำตัว 
    ทางขวาของคู่ต่อสู้ 
  • ฝ่ายรับพลิกกระบี่ ไปรับทางขวา มือขวาอยู่บนพร้อมกับถอยเท้าขวา 
    ไปข้างหลัง
ฝ่ายรุก

จังหวะที่ 5
ฝ่ายรุก
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า พร้อมกับยกกระบี่ตีลงตรงศีรษะของฝ่ายรับ มือซ้ายยกขึ้นข้างหลัง
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง พร้อมกับยกกระบี่ขึ้นรับเหนือศีรษะ มือซ้ายจับด้านปลายกระบี่ ให้กระบี่ขนานพื้น

จังหวะที่ 6
  • ฝ่ายรุก ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า พร้อมกับยกโกร่งกระบี่ขึ้น ให้ปลาย 
    กระบี่ชี้ไปข้างหลัง ใช้โคนกระบี่กระแทกลงไปที่หน้าของฝ่ายรับมือ 
    ซ้ายลดลง
  • ฝ่ายรับ ถอยเท้าขวาไปข้างหลัง ยกกระบี่ขึ้นเหมือนจังหวะที่ 5 ใช้ตัว
    กระบี่รับโคนกระบี่ของฝ่ายรุก แล้วดันขึ้น
ฝ่ายรุก



การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

รายการที่ 1 วิ่ง 50 เมตร
เมื่อให้สัญญาณเข้าที่ ให้นักเรียนยืนให้ปลายเท้าข้างหนึ่งอยู่ชิดเส้นเริ่ม เมื่อได้ยินสัญญาณ ปล่อยตัว ให้วิ่งด้วยความเร็วเต็มที่จนผ่านเส้นชัย

รายการที่ 2 วิ่งเก็บของ
วางไม้ทั้งสองท่อนกลางวงกลมที่อยู่ตรงข้ามกับเส้นเริ่ม นักเรียนยืนให้ปลายเท้าข้างหนึ่งอยู่ชิดเส้นเริ่ม เมื่อได้รับคำสั่งว่า ไป ให้นักเรียนวิ่งไปหยิบท่อนไม้
ท่อนหนึ่ง มาวางที่วงกลมหลังเส้นเริ่ม แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อนหนึ่งมาวางไว้เช่นเดียวกับท่อนแรกแล้ววิ่งเลยไป ห้ามโยนท่อนไม้ หากวางไม่เข้า
ในวงกลม ให้เริ่มใหม่

รายการที่ 3 ยืนกระโดดไกล
นักเรียนยืนที่เส้นเริ่มให้ปลายเท้าทั้งสองอยู่ชิดเส้นเริ่ม เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มตัว เมื่อได้จังหวะให้เหวี่ยงแขนไปข้างอย่างแรง
พร้อมกับ กระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด ใช้ไม้วัดทาบตั้งฉากกับขีดบอกระยะ หากมีการเสียหลักหงายหลังหรือมือแตะพื้นให้ทำใหม่

รายการที่ 4 แรงบีบมือ
นักเรียนใช้มือข้างที่ถนัดจับเครื่องวัดแรงบีบมือโดยให้นิ้วข้อที่ 2 รับน้ำหนักของเครื่องวัด ยืนปล่อยแขนข้างลำตัว ห่างลำตัวเล็กน้อย แขนตึงกำมือบีบเครื่องวัด 
สุดแรงโดยไม่ให้เครื่องวัดถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ห้ามโถมตัวหรือเหวี่ยงเครื่องมือ

รายการที่ 5 ลุกนั่ง
จัดนักเรียนเป็นคู่ ให้นักเรียนคนแรกนอนหงายบนเบาะยืดหยุ่น เข่างอเป็นมุมฉาก ปลายเท้าแยกห่างกัน ประสานมือที่ท้ายทอย นักเรียนคนที่สองคุกเข่าที่ปลายเท้า 
คนแรก มือทั้งสองกำและกดข้อเท้านักเรียนคนแรกไว้ให้เท้าติดพื้น เมื่อได้รับสัญญาณเริ่มพร้อมกับจับเวลา นักเรียนลุกขึ้นนั่งให้ข้อศอกแตะเข่าตนเองแล้วกลับลุก 
ขึ้นนั่งใหม่ ทำเช่นนี้ติดต่อไปอย่างรวดเร็วจนครบ 30 วินาที จากนั้นจึงสลับกันปฏิบัติเช่นเดียวกัน

จากนั้นจึงบันทึกข้อมูลทุกรายการไว้เพื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบครั้งต่อไป


ขอบคุณที่มาบทความ

http://www.wt.ac.th/~phonthong/kabee.html


คำสั่ง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.การเล่นกระบี่กระบองช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้านใดมากที่สุด

ก.       ความแข็งแรง

ข.       ความเร็ว

ค.       กำลัง

ง.        ความแคล่วคล่องว่องไว

2. กระบี่เป็นอาวุธที่สำคัญของการใดของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ

ก.         ทหาร

ข.         ตำรวจ

ค.         นักกีฬา

ง.          นักล่าสัตว์

  1. การเล่นกระบี่จะช่วยฝึกน้ำใจได้ดีเลิศอย่างไร

ข.         ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ค.         ทำให้มีความกล้าหาญ

ง.          ทำให้มีความอดทน

จ.         ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

3. ข้อใด ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมกระบี่ในสมัยโบราณ

ก.         ทำการรบได้ทุกโอกาส

ข.         มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยว

ค.         ป้องกันอันตราย

ง.          บำรุงร่างกายให้แข็งแกร่ง

 4. การเล่นกระบี่กระบองแบบจำลองในสมัยโบราณมีวัตถุประสงค์อย่างไร

ก.         เพื่อหาผู้ที่มีความสามารถ

ข.         เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ค.         เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ง.          เพื่อฝึกซ้อมและเตรียมตัวในยามสงบ

5. การเล่นกระบี่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร

ก.         ช่วยสืบทอดมรดกอันสำคัญประจำชาติ

ข.         ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง

ค.         ช่วยอนุรักษ์ศิลปะประจำชาติ

ง.          ช่วยรักษาวัฒนธรรมอันดี

6. การเรียนกระบี่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ก.         ทำให้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

ข.         ทำให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ค.         การต่อสู้ในสงคราม

ง.          ทำให้สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี

7. การท่าคุมรำ มือซ้ายจีบอยู่ระดับส่วนใด

ก.         คิ้ว                         

ข.         อก         

ค.         สะดือ

ง.          ไหล่

 8. กระบี่กระบองเป็นที่นิยมแพร่หลายของประชาชนในรัชกาลใดมากที่สุด

ก.        รัชกาลที่ 2

ข.        รัชกาลที่ 5

ค.        รัชกาลที่ 4

ง.         รัชกาลที่ 3

 9.กระบี่กระบองเป็นที่นิยมแพร่หลายของประชาชนในรัชกาลใดมากที่สุด

ก.        รัชกาลที่ 2

ข.        รัชกาลที่ 5

ค.        รัชกาลที่ 4

ง.         รัชกาลที่ 3

 10. การฝึกอบรมหรือฝึกซ้อมกระบี่ในสมัยโบราณเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงดุจอะไร

ก.         กระดูกเป็นเหล็ก ใจเป็นทองแดง หนังเป็นเพชร

ข.         กระดูกเป็นเพชร ใจเป็นเหล็ก หนังเป็นทองแดง

ค.         กระดูกเป็นทองแดง ใจเป็นเพชร หนังเป็นเหล็ก

ง.          กระดูกเป็นเหล็ก ใจเป็นเพชร หนังเป็นทองแดง

 

ความคิดเห็น

  1. 1
    25/02/2018 21:20
  2. 2
    ก็อต
    ก็อต sarika21463@gmail.com 15/05/2017 21:22

    ช่วยเพิ่มกติกาการเล่นให้หน่อยครับ

  3. 3
    แบงค์
    แบงค์ 27/02/2015 17:26

    ต้องทำข้อสอบผ่านแน่เลยครับ

  4. 4
    22/11/2014 16:02
  5. 5
    กิตติศักดิ์ ม.2/7
    กิตติศักดิ์ ม.2/7 pea18324@hotmail.co.th 17/11/2013 13:57

    ขอบคุณนะครับที่ให้ข้อมูลช่วยได้เยอะเลย

  6. 6
    23/09/2013 18:18
  7. 7
    ปนัดดา   ศรีเชียงสา
    ปนัดดา ศรีเชียงสา pooy.192@hotmail.com 19/06/2013 07:38

    ได้ความมากมายค่ะ

  8. 8
    ประภัสสร ม.2/3
    ประภัสสร ม.2/3 fahfern_11@hotmail.com 17/06/2013 21:07

    พี่ค่ะขอต่ออีกนิดได้ไหมค่ะเอิ่ม!!!ขนาดของสนามกระบี่กระบองมันมีขนาดเท่ารัยอ่ะค่ะ

  9. 9
    พรสวรรค์   ม2/4
    พรสวรรค์ ม2/4 kkkk_kkkknun@hotmail.co.th 10/06/2013 13:37

    ได้ความรู้มากมาย

  10. 10
    พรสวรรค์
    พรสวรรค์ kkkk_kkkknun@hotmail.co.th 10/06/2013 13:33

    ได้ความรู้มากมาย


 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12 [Next]

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view