http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,394
เปิดเพจ1,326,347

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

ขอบคุณที่มาบทความ http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1003947_example.pdf

 การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

1.การวางแผนดูแลสุขภาพ

การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง การกำหนดรูปแบบในการดูแลสุขภาพตามที่ต้องการรวมถึงวัตถุประสงค์วิธีดำ เนินการและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพที่ดี การวางแผนดูแลสุขภาพจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพและสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวนำ ไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

2.หลักการวางแผนและการปฏิบัติตามแผนดูแลสุขภาพ

การวางแผนดูแลสุขภาพควรยึดหลักการหรือกระบวนการดังนี้ หลักการวางแผนแบบ Deming คือ หลักการควบคุมคุณภาพที่เรียกว่า วงจรเดมมิง (Deming) เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายจึงต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ4ขั้นตอนดังนี้

1. P(Plan)คือการวางแผนเพื่อตั้งเป้าหมายเลือกปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา

2. D (Do)คือการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

3. C (Check)คือการตรวจสอบผลแล้วเปรียบเทียบผล

4. A (Action)คือการนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

3.วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆดังนี้

3.1 โภชนาการ การวางแผนรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้มีสุขภาพดีซึ่งต้องรับประทานอาหาร ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย โดยกำหนดรายการอาหารแต่ละวันเพื่อให้ได้อาหารครบทั้ง 5หมู่ ซึ่งอาจวางแผนกำหนดเป็นช่วงสัปดาห์

การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัยปฏิบัติได้ดังนี้

วัยทารกควรได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ6 เดือน

วัยเด็กต้องการได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายซึ่งกำลังเกิด การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในทุกๆด้านสารอาหารต้องครบ5หมู่

วัยรุ่น มีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงท้ายที่ร่างกายจะเจริญเติบโต ร่างกายต้องการพลังงานและโปรตีนจำนวนมากซึ่งวัยรุ่นชายต้องการพลังงานมากกว่าวัยรุ่นหญิงเล็กน้อย

วัยผู้ใหญ่ ร่างกายหยุดการเจริญเติบโต แต่ยังต้องการพลังงานและโปรตีนเพื่อช่วย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและนำ พลังงานไปใช้ในการทำ งานประกอบอาชีพ และการดำ เนินชีวิต

วัยสูงอายุ ร่างกายมีความเสื่อมถอยลงควรได้รับสารอาหารครบ5หมู่และมีการควบคุม อาหารในแต่ละมื้อให้ย่อยง่าย ปริมาณพอเหมาะ เน้นการนำสารอาหารมาซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ มากกว่าการนำ พลังงานไปใช้เพียงอย่างเดียว


3.2 การออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำ ให้อวัยวะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคนจึงต้อง ออกกำลังกายโดยอาจปฏิบัติร่วมกันในครอบครัว หรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดย ศึกษารูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสม กับวัย เพศ และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ควรปฏิบัติครั้งละไม่ตํ่ากว่า 30นาทีสำหรับผู้ที่มี โรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน

3.3 การพักผ่อน การพักผ่อนช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และสร้างเสริมร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ช่วยให้ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนต่างๆโดยระยะเวลาการนอนหลับ ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามวัย เช่น วัยทารกควรนอนวันละ 18-20 ชั่วโมง วัยเด็กและวัยรุ่น ควรนอนวันละประมาณ 8-9 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุควรนอนวันละประมาณ 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับจึงต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัย การทำกิจกรรมนันทนาการก็เป็นการพักผ่อนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์และความเครียด

3.4 การตรวจสุขภาพ ทุกคนในครอบครัวต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและบุคคลในครอบครัว การวางแผนการตรวจสุขภาพนั้น จะแตกต่างไปตาม เพศและวัย เช่น วัยทารกต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ตามคำแนะนำ ของแพทย์วัยเรียนต้องได้รับการฉีด วัคซีนและตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ1ครั้งวัยผู้ใหญ่ ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง การตรวจ สุขภาพก่อนสมรสหรือมีบุตรทั้งเพศชายและเพศหญิง จำ เป็นต้องตรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมและลด ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และวางแผนครอบครัวในอนาคต ได้อย่างเหมาะสม

4.การสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว

เพื่อทราบสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆเช่น พฤติกรรมบุคคลสภาพร่างกาย กิจวัตรประจำวันการรับประทานอาหารการพักผ่อนสภาพแวดล้อมสุขาภิบาลซึ่งดำ เนินการได้ดังนี้ 4.1 สอบถามถึงสภาพของปัญหาสุขภาพที่เกิดกับแต่ละบุคคล 4.2 สืบค้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยการสังเกตสัมภาษณ์จดบันทึก หรือใช้แบบสอบถามอย่างง่ายช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อหาสาเหตุซึ่งการสำรวจอาจแบ่งได้เป็น2ส่วนคือ สำรวจข้อมูลบุคคลจะเก็บข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัวเป็นรายบุคคล สำรวจข้อมูลส่วนรวมจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว 4.3 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการวางแผนดูแลสุขภาพต่อไป

(ตัวอย่างแบบสำรวจปัญหาสุขภาพอย่างง่าย)



5. ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพ ของตนเองและบุคคลในครอบครัว

5.1 ทำ ให้มองเห็นวิธีดำ เนินการที่จะปฏิบัติหรือเลือกปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ ทั้งการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

5.2 ทำ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตทั้งของตนเองและบุคคล ในครอบครัว

5.3 ลดภาวะความเจ็บป่วย ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นการป้องกันการเกิด ภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเบื้องต้น

5.4 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว ลดภาระและประหยัดงบประมาณ ในด้านการให้บริการสุขภาพหรือการรักษาพยาบาลของรัฐ

5.5 เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมลดปัญหาด้านการสาธารณสุขเพราะประชาชนมีสุขภาพดี


ค่านิยมในเรื่องเพศที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม

ขอบคุณที่มาบทความ https://sites.google.com/site/sukhsuksam4/home/bth-thi-4-phes-kab-wathn-thr-rmi

   ค่านิยมในเรื่องเพศ

ค่านิยม หมายถึง  ความรู้สึกนึกคิด  การให้คุณค่าหรือเชื่อถือที่มีต่อสิ่งหนึ่งค่านิยมทางเพศจึงเป็นเรื่องของความรู้สึกการให้คุณค่า  ดังนั้น  วัยรุ่นจึงให้ความสนใจและทำความเข้าใจในเรื่องเพศและค่านิยมทางเพศ

1.เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์

นักเรียนจะเห็นได้ว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนตั้งแต่กำเนิด  ดังนั้นเรื่องเพศจึงไม่ใช่เรื่องนารังเกียจหรือเลวร้ายไม่สามารถนำมาสนทนาได้แต่เราควรกล่าวในทางสร้างสรรค์  หลีกเลี่ยงในการปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศหรือ  ในทางลามกอนาจาร

2.เพศชายและเพศหญิงและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันตามหลักสิทธิมนุษยชน

ในอดีตสงคมไทยให้ความสำคัญกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง  เพราะบทบาทในการประกอบสัมมาอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวนั้นส่วนใหญ่เป็นของฝ่ายชาย  ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยของบ้าน  จัดเตรียมอาหาร  ดูแลบุตร  แต่ในปัจจุบันเพศหญิงมีโอกาสในการได้รับการศึกษา  การประกอบอาชีพและสถานภาพทางสังคมเท่าเทียมกับเพศชาย  ดังนั้น  เราจึงควรเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของตนเองเช่นเดียวกับการเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของเพศตรงข้าม

3.ค่านิยมทางเพศอาจแตกต่างกันไปตามสภาพสังคม  ประเพณี  และ  วัฒนธรรม

นักเรียนจะเห็นได้ว่าในแต่ละสังคมจะมีขนบธรรมเนียม  ประเพณี  ความเชื่อ  วิถีการดำเนินชีวิตและองค์ประกอบอื่นๆ  ของสงคมที่แตกต่าง  เนื่องจาบุคคลในสังคมก็มีความแตกต่างกัน  รวมทั้งค่านิยมในเรื่องเพศค่านิยมบางอย่างอาจมีความเหมาะสมกับอีกสงคมหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกสังคมหนึ่ง  ดังนั้นการจะรับค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมอื่นมาใช้ต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ  ว่าค่านิยมนั้นเหมาะสมและเป็นการยอมรับของสังคมไทยหรือไม่

4.ในสังคมเดียวกันอาจมีความเชื่อ  ค่านิยมทางเพศ  และการแสดงออกในเรื่องเพศที่แตกต่างกัน

การที่คนเรามีความแตกต่างระหว่างบุคคล  รวมทั้งมีการอบรมจากครอบครัว  มีสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ทางเพศที่ต่างกัน  ทำให้บุคคลมีการแสดงออกทางเพศที่ต่างกัน  ดังนั้นนักเรียนควรใช้วิจารณญาณในการปฏิบัติตนตามแบบอย่างที่เหมาะสม

5.การแสดงออกของการกระตุ้นทางเพศของมนุษย์

แต่ทุกคนมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นดังกล่าวให้เหมาะสมกับตน  เช่น  ในบุคคลที่ยังไม่สมรสก็ไม่ควรตอบสนอกการกระตุ้นโดยการมีเพศสัมพันธ์  เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบตามมา  เช่น  ตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมา  การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ซึ่งก็จะทำให้ตนเองและครอบครัวเกิดความเดือดร้อนและเป็นทุกข์  จึงควรหาทางออกที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหา   เช่น  การเบี่ยงเบนความสนใจ   เช่น  การเล่นกีฬา

6.ปฏิบัติตนเกี่ยวกับเรื่องเพศและมีพฤติกรรมทางเพศทางเพศควรสอดคล้องกับจารีตประเพณีของสังคม

ในสังคมทุกสังคมจะมีข้อกำหนดหรือแนวทางปฏิบัติตนในเรื่องเพศตามธรรมนองครองธรรม  เพื่อความดีงามและความสงบเรียบร้อยของสังคม  เช่น  ในสังคมไทยจะมีสำนวนโวหารที่แสดงถึงค่านิยมทางเพศที่ดีในสังคม  เช่น การรักนวลสงวนตัวเข้าตามตรอกออกตามประตู  เป็นต้น

7.ควรตระหนักว่าเรื่องเพศนั้นมีความเกี่ยวข้องกับชีวิต

และมีความหมายกว้างขวางเกี่ยวกับคนเราในหลายมิติ  ทั้งด้านเสรีวิทยา  สังคมวิทยา  จิตวิทยา  และจริยธรรมเรื่องเพศมิได้หมายความว่าเฉพาะเรื่องระบบสืบพันธุ์และการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น

8.การมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับวัยจะช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาทางเพศ

การมีพฤติกรรมทางเพศที่เกินวัยจะก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบตามมาหลายประการ เช่น นักเรียนหญิงที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนควรหลีกเลี่ยงการแต่งกายที่รัดรูปหรือเปิดเผยจนเห็นสัดส่วนอย่างชัดเจน เช่น การใส่เสื้อเอวลอย สวมกระโปรงหรือกางเกงเอวต่ำจนเกินไป การนุ่งสั้นหรือใส่เสื้อเกาะอก เพราะการแต่งตัวเช่นนี้เป็นการยั่วยุอารมณ์และอาจก่อให้เกิดปัญหาทางเพศตามมา

ค่านิยมเรื่องเพศและวัฒนธรรมไทย

ประเทศไทยตั้งแต่ซีกโลกตะวันออก เป็นประเทศที่มีคำนบประเพณีธรรมเนียมและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพัวมาช้านานโดยเฉพาะค่านิยมเรื่องเพศ ซึ่งสามารถจำแนกได้สองมุมมอง ดังนี้

1.ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง

-         การรักนวลสงวนตัว

-         การเข้าตามตรอก ออกตามประตู

-         การมีรักเดียวใจเดียว

-         การไม่ชิงสุกก่อนห่าม

-         ชายไทยต้องรับผิดชอบต่อครอบครัว

2.ค่านิยมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง

   -  การพูดหรือสื่อสารในเรื่องเพศเป็นเรื่องหยาบคาย หรือ น่าอับอาย

   -  การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศ

   -  การยกย่องให้คุณค่าเพศชายเหนือกว่าเพศหญิง

   การใช้ถุงยางอนามัยถูกตีค่าในด้านลบว่าเป็นการไม่ไว้ใจกัน

ค่านิยมเรื่องเพศในสังคมตะวันตก

-         การนัดพบหรือการออกเดท [Dating]

-         การทดลองอยู่ด้วยกัน

-         การแสดงออกความรักใคร่อย่างเปิดเผย

พฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย

ในสังคมไทยปัจจุบันขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมยังคงเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิต และมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ สำหรับสังคมไทยถือว่าความบริสุทธิ์ และการไม่มีเพศสัมพันธุ์ก่อนแต่งงาน เป็นสิ่งที่ดีงามตามวัฒนธรรมไทย ดังนั้นการวางตัวต่อเพศตรงข้าม ในระหว่างที่คบหาสมาคมกัน เป็นเรื่องสำคัญที่นักเรียนต้องให้ความสนใจ การวางตัวอย่างเหมาะสม เช่น

การแสดงพฤติกรรมของเพศหญิงนั้นจะต้องทำตัวให้เพศชายยกย่อง และให้เกียรติ โดยฝ่ายหญิงจะต้องเข้าใจว่า การที่ผู้หญิงกล้าเกินไป ไม่ถือเนื้อถือตัวและให้ความสนิทสนมกับผู้ชายมากๆ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาศให้ผู้ชายสามารถล่วงเกินได้ง่ายขึ้น การวางตัวที่ดีและระมัดระวังตัวไม่ปล่อยให้สนิทสนมกับใครๆ โดยง่ายขึ้น เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งสำหรับกุลสตรี ซึ่งผู้ชายโดยทั่วไปมักจะให้ความยกย่องนับถือ หรือภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเขาได้มีโอกาศแต่งงานกับผู้หญิงที่มีลักษณะนี้ ในทางเดียวกัน ผู้ชายที่ดีหรือมีความเป็นสุภาพบุรุษนั้น  จะต้องให้เกียรติและยกย่องสุภาพสตรี การวางตัวต่อเพศตรงข้าม ที่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทยนั้น ควรปฏิบัติดังนี้

-         การปฏิบัติตนของผู้ชาย

ให้เน้นที่ความเป็นสุภาพบุรุษและความมีคุณธรรมประจำใจ คือ ไม่ล่วงเกินทางกาย ไม่พูดทะลึ่ง ไม่พูดจาหลอกลวงฝ่ายหญิง วางตัวให้เหมาะสมและเป็นที่หน้าไว้ใจของฝ่ายหญิง ชายเป็นเพศที่แข็งแรงกว่าควรปกป้องฝ่ายหญิงมากกว่าการไปทำร้ายร่างกาย และ ควรช่วยเหลือฝ่ายหญิงเท่าที่ตัวเองจะทำได้ด้วย

-         การปฏิบัติตนของผู้หญิง

ให้เน้นที่ความเป็นสุภาพสตรีและรักนวลสงวนตัว มีความละอาย คือ ควรสงวนท่าที ไม่อยู่ในที่ลับตา ไม่ควรไปเที่ยงเตร่ตามลำพัง หรือกับเพศตรงข้าม ไม่ยินยอมให้ฝ่ายชายถูกเนื้อต้องตัว ในการวางตัวต่อฝ่ายชาย โดยที่ไปต้องนับถือความเป็นกุลสตรีของตัวเอง


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view