http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,381
เปิดเพจ1,326,334

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

ระบบห่อหุ้มร่างกาย

ระบบห่อหุ้มร่างกาย

องค์ประกอบของร่างกาย

        องค์ประกอบของร่างกายจะเริ่มจากหน่วยที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ (Cell) เซลล์หลาย ๆ เซลล์จะรวมกลุ่มเป็นเนื้อเยื้อ (Tissue) เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่างเนื้อเยื้อหลายๆชนิดจะรวมตัวเป็นอวัยวะ(Organ) เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง อวัยวะหลายๆอวัยวะทำหน้าที่ประสานกันเป็นระบบ (System) ระบบทุกระบบประสานกันเป็นร่างกาย

 ร่ายกายคนเรามีอวัยวะมากมายหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปอวัยวะที่ทำงานประสานกันเพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกายเรียกว่า  ระบบอวัยวะ  ระบบอวัยวะในร่างกายคนเราแบ่งออกตามหน้าที่ได้หลายระบบ ได้แก่ ระบบห่อหุ้มร่างกาย  ระบบกระดูก  ระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ  ระบบย่อยอาหาร  ระบบขับถ่าย ระบบประสาท  ระบบสืบพันธุ์และระบบต่อมไรท่อ

ระบบห้อหุ้มร่างกาย

       ระบบห่อหุ้มร่างกาย (The Integumentary System) ประกอบด้วยผิวหนัง เล็บ ขน และผม โดยแต่ละอวัยวะมีโครงสร้างและความสำคัญ ดังนี้

1.ผิวหนัง

        ผิวหนัง (Skin) เป็นอวัยวะที่มีพื้นที่มากที่สุดในร่างกาย ใช้เลือดหล่อเลี้ยงในปริมาณ1/3ของเลือดในร่างกาย ลักษณะของผิวหนังจึงแสดงให้เห็นถึงระดับคุณภาพของคนเราได้โดยผู้ที่มีสุขภาพดีจะมีผิวพรรณเปล่งปลั่งสวยงาม ส่วนผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ผิวหนังจะซีดเซียว แห้ง หรืออาจเป็นโรคผิวหนังต่างๆเช่น ผดผื่น คัน หิด กลาก เกลื้อน

  • โครงสร้างของผิวหนัง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่

        1. ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) คือ ผิวหนังชั้นนอก มีลักษณะบางมาก จะมีเซลล์อยู่เป็นชั้นๆส่วนของเซลล์ด่านล่างจะทำหน้าที่สร้างเซลล์ใหม่ตลอดเวลา โดยจะดันเซลล์เก่าออกมาเซลล์ด้านนอกจะค่อยๆแห้งตาย และหลุดออกมาเป็นขี้ไคล (Keratin) ความหน้าของหนังกำพร้าในแต่ละส่วนของร่างกายจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและหน้าที่ ส่วนที่บางที่สุดอยู่ที่บริเวณหนังตาและหนังหู ส่วนที่หนาที่สุดอยู่ที่ฝ่ามือ ซึ้งผิวหนังของแต่ละคนจะมีสีแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเซลล์สร้างเมล็ดสีที่เรียกว่าเมลานิน (Melanin) ที่อยู่ชั้นลึกสุดของผิวหนังกำพร้าถ้ามีเมลานินมากผิวก็จะคล้ำ ถ้ามีน้อยก็จะขาว 

ขอบคุณที่มา https://sebamedthai.com/structure-skin/

 2. ชั้นหนังแท้ (dermis)คือ ผิวหนังที่อยู่ถัดจากผิวหนังกำพร้าเข้าไปประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญได้แก่หลอดเลือดฝอยเส้นประสาท ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และขอนหรือผม ในชั้นหนังแท้มีหลอดเลือดฝอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำหน้าที่นำเลือดมาหล่อเลี้ยงผิวหนังมีเส้นประสาทรับความรูสึกต่างๆการกระจัดกระจายมีทั่วไป  นอกจากนี้ยังมีต่อมเหงื่อที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากร่างกาย  มีต่อมไขมันที่พบได้ในผิวหนังเกือบทั้งหมดที่มีขน และชั้นหนังแท้ยังเป็นชั้นผิวหนังที่ผลิตขนและผมของร่างกายอีกด้วย ถัดเข้าไปจากชั้นหนังแท้จะเป็นชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อไขมันเป็นส่วนใหญ่  ทำหน้าที่คล้ายฉนวนกันความร้อนและเป็นเบาะกันสะเทือนได้เป็นอย่างดี

  • หน้าที่ของผิวหนัง  มีดังนี้

          1. ป้องกันร่างกาย  ผิวหนังสามารถป้องกันร่างกายในเรื่องต่อไปนี้

          - ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะภายในร่างกาย โดยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อวัยวะภายในร่างกายได้รับอันตรายจากการถูกกระทบกระเทือนจาก สารเคมี สารพิษ เชื้อโรค และรังสีเนื่องจากผิวหนังมีคุณสมบัติยืดหยุ่น หนา และเหนียว ช่วยลดแรงกระแทก ลดการดูดซึมของสารเคมี

          - ป้องกันเชื้อโรค ผิวหนังมีสารที่ช่วยทำลายจุลินทรีย์ได้บางส่วน จึงลดจำนวนเชื้อโรคลงได้ การห่อหุ้มร่างกายก็เป็นเสมือนเกราะไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายนอกจากนี้ไขมันที่ถูกผลิตโดยชั้นผิวหนังมีสภาพเป็นกรดช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย

          - ป้องกันการระเหยและการซึมน้ำ เพราะหนังกำพร้ามีสารเคราติน (keratin) ซึ่งมีคุณสมบัติกันน้ำได้ จึงทำให้เราสามารถว่ายน้ำได้เป็นเวลานานๆ

          - ป้องกันแสงต่างๆ ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย เช่น แสงแดด เวลาถูกแสงแดดเซลล์ของหนังกำพร้าที่มีเม็ดสีเมลานิน (melanin) จะดูดแสงแดดเอาไว้ และกระตุ้นให้เกิดเม็ดสีเมลานินมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดทะลุเข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนัง

          2. ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระบบปกติโดยผ่านการทำงานของการหดหรือขยายตัวของหลอดเลือดที่ผิวหนังและการทำงานของต่อมเหงื่อ เมื่อร่างกายได้รับความร้อนเส้นเลือดจะขยายตัวเพื่อให้เลือดไหลสู่พื้นผิวมากขึ้น และในทางตรงข้ามเส้นเลือดจะหดตัวเมื่ออากาศเย็นเพื่อรักษาความร้อนให้คงอยู่ในร่างกาย  ส่วนต่อมเหงื่อที่มีอยู่ในบริเวณชั้นผิวหนังต่างๆ ของร่างกายจะผลิตเหงื่อออกมา ความร้อนก็จะละเหยไปกับเหงื่อทำให้รู้สึกเย็นลง

          3. รักษาความชุ่มชื้นของร่างกาย โดยต่อมไขมันจะผลิตน้ำมาเลี้ยงผิวหนังในชั้นของหนังกำพร้าทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื่นเต่งตึง ไม่แห้งกร้าน เหงื่อที่ถูกขับออกมามีส่วนช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง นอกจากนี้ผิวหนังยังป้องกันไม่ให้น้ำจากภายนอกซึมเข้าไปในร่างกายและไม่ให้น้ำภายในละเหยออกไปง่ายๆ

          4. ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายในรูปแบบของเหงื่อ เช่น ยูเรีย ซึ่งเป็นเกลือแร่ที่ภายในร่างกายไม่ต้องการ

          5. เป็นแหล่งสร้างวิตามินดีให้กับร่างกาย โดยอาศัยแสงแดดช่วยสังเคราะห์สาร 7 –ดีไฮโดรโคเลสเตอรอล (7-dehydrocholesterol) ที่อยู่ในผิวหนังให้เป็นวิตามินดีสามได้ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกอ่อน

          6. เป็นอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ  โดยมีประสาทรับรู้ความรู้สึกหลายชนิดและจำนวนมากอยู่ในบริเวณหนังแท้ เช่น ความรู้สึกร้อน เย็นหรือความรู้สึกเจ็บปวด

  • ความผิดปกติของผิวหนัง

          ความผิดปกติของผิวหนังอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากโรคภัยไข้เจ็บ  จากอุบัติเหตุต่างๆ ตลอดจนการทำงานของต่อมภายในร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่

       1. สิว  (acne) เกิดจากสาเหตุหลายประการ  เช่น  การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้ต่อมไขมันขับไขมันออกมามาก เมื่อไขมันแข็งตัวอุดตันต่อมไขมันและรูขนก็จะทำให้เกิด สิวเสี้ยน  และถ้าถูกไขมันขับออกมาใหม่ดันจนนูนขึ้นจะเป็น หัวสิว ถ้ามีเชื้อแบคทีเรียคุกคามเข้าไปยังต่อมไขมันละรูขนที่เป็นสิวนั้นจะเกิดการอักเสบ บวมแดง และเป็นหนอง ซึ่งบางคนเรียกสิงชนิดนี้ว่า สิวหัวช้าง นอกจากนี้ สิวยังอาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีมากผิดปกติ อากาศที่ร้อนชื้นทำให้เหงื่อออก ผิวหนังสกปรก ภาวะตึงเครียด หงุดหงิด การใช้เครื่องสำอางที่เป็นน้ำมันหรือครีมอาจทำให้มีการอุตันของรูขนซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้ เมื่อเป็นสิวควรล้างด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆอย่าใช้มือแกะหรือบีบ หัวสิวเพราะทำให้สกปรก  ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมันๆหรือหวานจัด นอกจากนี้พักผ่อนให้เพียงพอ เลิกวิตกกังวล และหากเป็นสิวมากควรปรึกษาแพทย์

       2. ตาปลา (corn) เกิดจากแรงกดหรือมีแรงเสียดสีผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆทำให้ผิวหนังค่อยๆด้านหรือหนาขึ้น มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆแข็งๆ และเจ็บปวดมากเมื่อเม็ดกลมๆนั้นกดลงบนเนื้ออ่อนที่อยู่ด้านล่างลงไป โดยทั่วไปตาปลามักจะเกิดบริเวณนิ้วเท้าหรือฝ่าเท้าเนื่องจากใส่รองเท้าคับเกินไป วิธีป้องกันไม่ให้เกิดตาปลาที่ดีที่สุด  คือ  การสวมรองเท้าที่ไม่คับหรือบีบเท้า และเมื่อเป็นแล้วหากจะตัดทิ้งหรือคว้านออกต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดเพราะอาจเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อโรคได้

       3.  กลิ่นตัว (odour) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไขมันจากต่อมเหงื่อ เซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับแบคทีเรียและความชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัวขึ้น หากมีกลิ่นตัวควรอายน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ฟอกสบู่โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ขาหนีบ ใต้คอ หลังหู แล้วเช็ดตัวให้แห้ง ถ้ามีกลิ่นตัวแรง อาจใช้ก้อนสารส้มหรือลูกกลิ้งระงับกลิ่นเหงื่อทาบริเวณรักแร้หลังอาบน้ำทุกครั้ง

       4. โรคราที่เท้าหรือโรคฮ่องกงฟุต (Hong Kong’s foot)หรือโรคเท้านักกีฬา(Athlete’s foot)เกิดจากติดเชื้อราที่เท้า เนื่องจากรองเท้าอับชื้นและเดินลุยน้ำสกปรก ทำให้มีการคันบริเวณซอกนิ้วเท้าและอาการคันเพิ่มมากขึ้นถ้ามีการเกาด้วยจะทำให้ผิวหนังลอกเป็นขุยๆ มีกลิ่นเหม็นหากเป็นนานๆ ผิวหนังบริเวณนั้นจะมีเนื้อนูนหนา แข็ง และลอกออกเป็นขุยๆ สามารถรามไปยังนิ้วใกล้เคียงได้การป้องกันรักษาได้โดยการร้างเท้าให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้งสนิทพยายามอย่าให้เท้าอับชื้น ในกรณีมีเหงื่อออกที่บริเวณเท้ามาก อาจใช้แป้งฝุ่นโรยบริเวณง่ามนิ้วเท้าเพื่อช่วยให้นิ้วเท้าและผ่าเท้าแห้งได้ โรคเชื้อราที่เท้ามีการรักษาค่อนข้างยาก ควรปรึกษาแพทย์ และเมื่อหายแล้วไม่ควรนำถุงเท้าเเละรองเท้าคู่เดิมมาใช้อีก เพราะยังมีเชื้อราอยู่ ถ้าจะนำมาใช้ควรนำไปฆ่าเชื้อโดยการต้มหรือผึ่งแดด

            5. ผิวแห้งกร้าน (dry’s skin) เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกผิดปกติ ลมแรง อากาศร้อนจัด หนาวจัด การฟอกสบู่บางชนิด เช่น สบู่ยา หรือใช้สบู่บ่อยครั้งเกินไปทำให้ไขมันที่ผิวหนังลดน้อยลง ผิวหนังไม่อาจรักษาความชื้นไว้ได้จึงแห้ง เป็นขุยและแตกอย่างรุนแรง มีอาการคันและแสบอาจติดเชื้อทำให้ผิวหนังอักเสบได้ การป้องกันการเกิดผิวหนังแห้งกรานให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น หนาวจัด ร้อนจัด และสวมใส่เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายอย่างเหมาะสม เมื่อผิวหนังแห้งและแตกไม่ควรใช้สบู่ เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งและแตกมากขึ้น ควรใช้น้ำมันหรือครีมทาผิวเพื่อรักษาความชุ่มชื่นของผิวหนังไว้และป้องกันไม่ให้น้ำระเหยจากผิวหนังมากเกินไป และควรระมักระวังในการอาบน้ำอุ่น การใช้กระเป๋าน้ำร้อน การผิงไฟกลางแจ้ง เพราะจะทำให้ผิวหนังแห้งและแตกมากยิ่งขึ้น

        6.ฝี (abscess) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่บนผิวทั่วไป ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณรอบๆขุมขน ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน หรือทางรากผม ต่อมาเป็นหนอง ระยะแรกจะมีลักษณะบวมแดง แข็ง และร้อนบริเวณที่เป็น เจ็บมาก เริ่มจากเป็นเม็ดเล็กๆ หรือก้อนแข็งแล้วโตอย่างรวดเร็ว มีหัวหนองสีเหลืองอยู่ตรงกลาง ต่อมาหัวหนองอ่อนตัวลงจนมีลักษณะนุ่มมีหนองสีเหลือง เหนียวเหลว ซึ่งมีเชื้อโรคปะปนอยู่มาก และอาจกระจายไปสู่ที่อื่นๆของร่างกายได้ การป้องกันและรักษา อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และรักษาผิวหนังให้สะอาดอยู่เสมอ ห้ามใช้เล็บหรือมือที่สกปรกแกะ เกา ผิวหนัง หากเป็นฝีห้ามบีบหรือบ่งหัวฝี จนกว่าจะมีอาการอ่อนนุ่มที่ตรงกลาง ถ้าฝีไม่แตกออก หรือเป็นหนองควรไปพบแพทย์ ถ้าปวกหรือมีไข้ให้กินยาลดไข้

2.เล็บ

  • โครงสร้างของเล็บ

           เล็บ (nails) เป็นส่วนของเซลล์ชั้นหนังกำพร้าที่ตายแล้ว ซึ่งเจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ที่มีชีวิตในชั้นล่างที่เลื่อนขึ้นมาอัดแน่นเป็นแผ่นแข็ง ยืดหยุ่นได้ อยู่ทางด้านหลังของปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ปล้องสุดท้ายมหน้าที่ป้องกันปลายนิ้วไม่ให้ไก้รับอันตราย เล็บมีลักษณะโปร่งแสง มีส่วนที่ยืนพ้นปลายนิ้ว ซึ่งไม่มีหลอดเหลือกและประสาทมาเลี้ยง เวลาเราตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ ส่วนของเล็บที่ฝังอยู่ในหนังเรียกว่า รากเล็บ สองข้างของเล็บจะมีผิวหนังยื่นมาคลุมเล็กน้อย ข้างล่างมีปลายประสาทรับความรู้สึกมากมายและมีหลอดเลือดมาเลี้ยงมาก ดังนั้น เมื่อมีดบาดหรือหนามตำใต้เล็บจึงเจ็บปวด ในคนที่มีสุขภาพดี สีของเล็บจะเป็นสีชมพู่เรื่อๆ ตามสีของเลือดที่สะท้อนผ่านเล็บขึ้นมา แต่ถ้าเป็นโรคโลหิตจางเล็บจะมีสีขาวซีด ร่องระหว่างแผ่นเว็บกับผิวหนังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและความสกปรกต่างๆ หนังที่คลุมเหนือโคนเล็บจึงเป็นด่านแรกที่ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อโรคต่างๆไม่ให้เข้าไปในโคนเล็บ เวลาตัดเล็บจึงไม่ควรตัดหนังข้างเล็บออก เพราะจะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย การตัดเล็บควรตัดให้ปลายโค้งมน อย่าตัดชิดนิ้วเกินไป และหมั่นรักษาเล็บให้สะอาดอยู่เสมอ

ขอบคุณที่มา http://www.32begin.com/2013/04/blog-post_18.html

  • หน้าที่ของเล็บ

          1.ช่วยป้องกันการถูกกระทบกระเทือนที่ปลายนิ้วและช่วยส่งเสริมสุขภาพ

          2.ช่วยให้การหยิบจับสิ่งต่างๆได้สะดวกขึ้น

          3.ใช้สำหรับแคะ แกะ เกา ข่วน และช่วยป้องกันตัวเอง

          4.ช่วยให้การเดิน วิ่ง มีประสิทธิภาพ จะพบว่าเมื่อนิ้วเท้าถูกถอดเล็บจะทำให้เดินไม่ถนัด

          5.ช่วยไม่ให้ปลายนิ้วมื้อนิ้วเท้าได้รับอันตรายโดยง่าย

          6.ช่วยในการวินิจฉัยโรคบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในร่างกาย

  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเล็บ ได้แก่

          1. เล็บขบ( ingrown nail ) มักเป็นนิ้วหัวแม่เท้าที่เกิดจากการงอกของเล็บที่กดลึกเข้าในบริเวณซอกเล็บ ทำให้เกิดความเจ็บปวดอาจเป็นแผล ถ้าติดเชื้อก็จะเกิดการอักเสบ ให้ตัดเล็บเป็นแนวตรง ไม่ควรตัดสั้นจนเกินไป ถ้ามีอาการเล็บขบให้ทำความสะอาดมุมเล็บ และใช้สำลีชุบยาฆ่าเชื้ออุดไว้ใต้เล็บ

          2. เชื้อราที่เล็บ ( tinea unguium) ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทำงานที่ต้องเปียกน้ำอยู่ประจำ หรือเท้าอยู่ในที่อับชื้น อาการส่วนมากจะเป็นที่ซอกเล็บก่อน แล้วลามออกไปยังผิวหนังข้างเล็บและตัวเล็บ เล็บจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลือง เกิดมีขุยสะสมอยู่ใต้เล็บทำให้เล็บแยกออกจากเนื้อแล้วค่อยๆกร่อนลงที่ปลายแล้วลามต่อไปจนถึงโคนเล็บ การป้องกันรักษาทำได้โดยหมั่นตัดเล็บให้สั่น รักษาเล็บให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ ไม่ควรใช้เล็บเกาบริเวณที่เป็นเชื้อราเพราะเชื้อราจะติดเล็บมาได้ ถ้ามือต้องถูกน้ำบ่อยหรือแช่น้ำเป็นเวลานานให้ใช้ถุงมือยางสวมก่อนถุงเท้า รองเท้าควรรักษาให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ และไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่น ถ้าเล็บเป็นเชื้อราให้ใช้ขี้ผึงรักษาเชื้อราบริเวณที่เป็น ถ้ามีอาการมากควรปรึกษาแพทย์

3.ขนหรือผม

  • โครงสร้างของขนหรือผม

          ขนหรือผม (hair) งอกมาจากขุมขน ซึ่งเป็นส่วนที่เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ที่มีชีวิตของชั้นหนังกำพร้าส่วนลึก ที่โคนได้รับเลือดจากหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงและมีเส้นประสาทคลุมอยู่ด้วย ส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาเป็นส่วนของเซลล์ที่ตายแล้ว ขนมีอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นในบางที่ เช่น ฝ่ามือ ฝ่าเท้า สะดือ หัวนม ริมฝีปาก ขนทุกเส้นประกอบด้วยเส้นขน รากขนและขุมขน เส้นขนจะมีต่อมสีในเซลล์เส้นผมที่ผลิตเม็ดสีลงไปในแต่ละเซลล์ของเส้นผม เม็ดสีเหล่าจะมีสีต่าง ๆ คือ  ดำ  น้ำตาลเข้ม  และเหลืองปนแดง  สีของเส้นผมขึ้นอยู่กับเม็ดสีเหล่านี้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน  คนเราเมื่ออายุมากขึ้น  การสร้างเม็ดสีในเซลล์ของเส้นขนจะลดน้อยลงจนกระทั่งหยุดสร้าง  ผมจะเริ่มมีสีอ่อนลงและหงอกขาวในที่สุด  เส้นผมแต่ละเส้นมีอายุประมาณ  7  ปีแล้วจะหลุดร่วงไป  และจะมีเส้นใหม่งอกขึ้นมาแทนที่ในรูขุมขนเดิม

  • หน้าที่ของเส้นผม

          เส้นผมมีหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้หนังศีรษะได้รับความร้อนหรือความเย็นมากเกินไปและยังช่วยลดความรุนแรงจากอันตรายต่าง ๆ ที่มากระทบศีรษะ  นอกจากนี้เส้นผมยังช่วยเสริมความงามให้แก่ใบหน้า  และซับเหงื่อหรือสิ่งสกปรกหรือช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

ขอบคุณ ที่มา https://www.bergamot.co.th/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A1

  • ความผิดปกติของเส้นผม  ได้แก่    

          1. ผมร่วง (alopecia) เส้นผมของคนเราจะร่วงได้ตามธรรมชาติแล้วงอกขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา

แต่ถ้าหากร่วงมากกว่าปกติอาจจะมีสาเหตุมากจากการขาดสารอาหาร  การเจ็บป่วยด้วยโรคเชื้อรา  การแพ้ยาสระผม  หรือเกิดจากต่อมน้ำมันที่โคนผมไม่ผลิตน้ำมันมาหล่อเลี้ยงเส้นผม  การป้องกันรักษาอาการผมร่วงแก้ไขได้โดยการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการจะช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง  หลีกเลี่ยงการเป่าผมด้วยความร้อน  หลีกเลี่ยงการย้อมผม  หรือการดัดผม  และเมื่อเกิดความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

           2.  รังแค (dandruff) เกิดจากผิวหนังหรือเซลล์ที่ตายแล้วแห้งหลุดลอกออกมาเป็นแผ่นหรือเป็น

ขุย ๆ มักเกาะติดอยู่กับเส้นผม  ทำให้คันศีรษะและเป็นสาเหตุให้ผมร่วงได้  การป้องกันรักษาหมั่นสระผมเป็นประจำด้วยยาสระผมแบบอ่อน ๆ หวีหรือแปลงผมบ่อย ๆ งดใช้น้ำมันหรือครีมใส่ผม  หากรังแคยังไม่หายควรรีบปรึกษาแพทย์

    การบำรุงรักษาระบบห่อหุ้มร่างกาย

     ระบบห่อหุ้มร่างกายมีความสำคัญต่อร่างกาย  เราจึงควรบำรุงรักษาให้สามารถทำงานได้ตามปกติ  ดังนี้

    1.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วนโดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผิวหนัง  เช่น พวกโปรตีน  ผัก  ผลไม้ที่มีวิตามินเอ วิตามินบีและวิตามินซี

    2.  ออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ต่อมต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ผิวหนังได้ทำงาน  และการได้รับสงแดดอ่อน ๆในตอนเช้าและตอนเย็นร่างกายจะได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งจะช่วยให้ผิวหนังแข็งแรงสมบูรณ์  และมีผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส

    3.  ชำระล้างร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ  โดยการอาบน้ำ  การกำจัดกลิ่นตัว  การะสระผมและการตัดเล็บ  โดยเฉพาะการอาบน้ำอุ่นจะช่วยผ่อนคลายความเครียดของกล้ามเนื้อและทำความสะอาดผิวหนังได้ดี  นอกจากนี้ยังทำให้โลหิตไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังได้มากขึ้น  ช่วยให้ร่างกายสดชื่น  กระปี้กระเปร่า  และการใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่สะอาดยังช่วยป้องกันการเกิดโรคผิวหนังบางชนิด  เช่น  กลาก  เกลื้อน  ได้อีกด้วย

     4.   เลือกใช้เครื่องสำอาง  เช่น  ยาสระผม  สบู่  ครีมบำรุงผิว  ให้เหมาะสมกับสภาพผิวหนังของตนเอง  มิฉะนั้นอาจเกิดอาการแพ้  เป็นผื่นคัน  หรือเกิดสิวได้

     5.  พักผ่อนให้เพียงพอ  และทำจิตใจให้ร่างเริงแจ่มใสอยู่เสมอ

ขอบคุณแหล่งที่มาบทความ

https://sites.google.com/site/30289pornpimol/rabb-tang-khxng-rangkay/1-2-rabb-hx-hum-ran

ความคิดเห็น

  1. 1
    บุษบา เเซงจันดา 4/1 ยลว
  2. 2
    ณัฐภัทร อั้นนอก ม.4/1
    ได้รู้จักโครงสร้างของขนเเละผม
  3. 3
    ศิริพร เก่งธัญกิจ 4/1
  4. 4
    พัชรี รักมณี ห้อง 4/1
    พัชรี รักมณี ห้อง 4/1 Patcharee2003pat@gmail.com 30/05/2019 15:25

    ได้ความรู้เกี่ยวกับระบบต่างๆของร่างกายมนุษย์

  5. 5
    วิชิต แห่หล้า ม.4/1

    ได้รู้จักการทำงานในร่างกายมนุษย์

  6. 6
    กิตติคุณชัย พาจันทร์ ม.4/1

    ได้รู้จักระบบผิวหนังต่างๆ

  7. 7
    อริสา จันชาดา ม.4/1
    อริสา จันชาดา ม.4/1 arisaarisa1399032@gmail.com 30/05/2019 15:19

    ได้ความรุ้เยอะมากๆเลยค่ะ รู้องค์ประกอบของร่างกายเยอะเลยค่ะ

  8. 8
    อรปรีดา สุรมะณี
    อรปรีดา สุรมะณี suramanee1997@gmail.com 30/05/2019 15:19

    ได้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับองค์ประกอบของร่างกาย

  9. 9
    นพเก้า ฐานะ ม.4/1

    ได้รู้จักเรื่องระบต่างๆในร่างกายของมนุษย์


  10. 10
    บุษบา
    บุษบา แซงจันดา 30/05/2019 15:17
 1  2  3 [Next]

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view