http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,396
เปิดเพจ1,326,349

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

กิจกรรมเข้าจังหวะ

กิจกรรมเข้าจังหวะ

ประวัติกิจกรรมเข้าจังหวะ

 

                   การเต้นรำได้มีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์แล้ว  และลักษณะของการเต้นรำจะเป็นไปในรูปใดนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ  บางประเทศก็มีการเต้นรำหลายแบบหลายวิธี  ทั้งนี้ย่อมขึ้นควบคู่ไปกับพิธีการเฉลิมฉลองของการมีชัยชนะจากการต่อสู้  ในสมัยแรกๆ  นั้นการเต้นรำ  ได้เกิดขึ้นควบคู่ไปกับพิธีการเฉลิมฉลองของการมีชัยชนะจากการต่อสู้  จากการแข่งขันงานเลี้ยง  งานชุมนุมต่างๆ  ตลอดจนพิธีการทางศาสนา  โดยมีการร้องรำทำเพลง  กระโดดโลดเต้นไปตามจังหวะเสียงกลอง  เสียงตบมือ  เสียงเคาะ  และเสียงดีดสีตีเป่าต่างๆ  ต่อมาจึงได้กลายเป็นการละเล่นการเต้นรำพื้นเมืองของแต่ละเผ่าชนชาติ  และต่างก็ยึดถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีติดต่อกันเรื่อยมาเป็นศิลปะ

ประจำชาติบ้าง  เป็นการละเล่นเต้นรำประจำหมู่บ้านบ้าง  ซึ่งมีทั้งเต้นเดี่ยว  เต้นคู่  และเต้นเป็นหมู่  เป็นต้น

ความหมายของกิจกรรมเข้าจังหวะ(Rhythmic Activities)

 
                   กิจกรรมเข้าจังหวะหมายถึง  กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะ  ต่าง ๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ

ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้น ๆ 

 

ความมุ่งหมายของกิจกรรมเข้าจังหวะ

 
                  
1.  เพื่อให้มีทักษะในการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ 

ของร่างกายและสามารถนำหลักการเคลื่อนไหว การเต้นและการฟังดนตรีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในกิจกรรมนันทนาการ

ด้วยความมั่นใจ  สนุกสนานและปลอดภัย


                   2.  เพื่อให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีเจตคติที่ดีต่อกิจกรรมเข้าจังหวะและมีการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง


                   3.  เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจระเบียบ  ประเพณี  และมารยาทเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมเข้าจังหวะ


                       4.  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการของกิจกรรม

เข้าจังหวะ เช่น  การเคลื่อนไหวการฟังจังหวะ  และการเต้นแบบต่าง ๆ

ทั้งแบบไทยและแบบต่างประเทศ


                   5.  เพื่อก่อให้เกิดคุณลักษณะประจำตัวต่าง ๆ เช่น 

ความเชื่อมั่นในตนเอง  ความร่วมมือและความสามารถใน

การแสดงออกทางศิลปะ  เพื่อให้เห็นความสำคัญและมีความรักใน

การเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ   ของร่างกายด้วยความสวยงามและสง่าผ่าเผย

 ระวัติความเป็นมาลีลาศ

ความต้องการของมนุษย์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งรองจากปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วนั้นคือ ความต้องการเกี่ยวกับความสนุกสนานรื่นเริง ดังเห็นได้ว่าชนแต่ละชาติแต่ละเผ่ามักจะใช้วิธีการแสดงออกเพื่อ

ความสนุกสนานรื่นเริงสำหรับชนเผ่าของตนเองตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์

มาแล้วทั้งสิ้น วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานที่สำคัญอย่างหนึ่งและมักจะปฏิบัติ

อยู่เสมอโดยทั่วไปนั้นคือ การแสดงออกด้วยการเต้นรำหรือร้องรำทำ

เพลงนั้นเอง

การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงหรือเต้นรำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง

อาจจะเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เป็นไปด้วย

ความสนุกสนานรื่นเริงอย่างแท้จริง การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานนี้แต่ละชนชาต

ิแต่ละเผ่าจะมีวิธีการแสดงออกที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ทั้งนี้อาจจะมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม  ชีวิตการเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ตลอดจนความเชื่อโชคลางต่างๆ  และอาจจะเป็นจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้การร้องรำทำเพลงของแต่ละ

ชนชาติซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้นกลายมาเป็นศิลปะประจำชาติของ

แต่ละชาติไปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
               
               การลีลาศเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่ถือกำเนิดจากความต้องการ

ของการร้องรำทำเพลงเพื่อแสดงออกซึ่งความสนุกสนานรื่นเริงอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีขึ้นในยุโรปประมาณศตวรรษที่  15  และในสมันต่อมาการลีลาศแบบนี้ก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ  เป็นแบบและจังหวะต่างๆ  เช่น วอลซ์  แทงโก้  บีกินและอื่นๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
               
               การลีลาศนอกจากเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่สนองความต้องการ

ของร่างกายและจิตใจและเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสพบปะ

สังสรรค์กันได้เป็นอย่างดีแล้ว  ยังถือว่าเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีลีลาเต็มไปด้วยความสง่างามตามความรู้สึกของอารมณ์

ที่เกิดขึ้นจากดนตรีในขณะที่ลีลาศนั้นอย่างยิ่งอีกด้วย

ลีลาศ 

 

        ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่งในกิจกรรมเข้าจังหวะซึ่งเป็นการแสดงออก

ของคนที่มีศิลปะ มีความซาบซึ้งในด้านเสียงเพลงและจังหวะดนตรี

ทำให้เกิดอารมณ์สนุกสนานแล้วก็แสดงออกทางกาย  โดยการออกเต้นรำกับคู่เต้นไปตามจังหวะนั้นๆ

ประเภทของลีลาศ

 

         ลีลาศได้มีการแบ่งจังหวะต่างๆออกเป็นประเภทดังนี้

 

                1. ประเภทบอลรูม  (Ball Room)  ได้แก่ การลีลาศที่เคลื่อนที่ด้วยการลากหรือไสเท้าไปกับพื้น
เช่น  ควิกสเต็ป  วอลซ์  แทงโก้  เป็นต้น

 

               2. ประเภทลาตินอเมริกัน  (Latin  American)   ได้แก่  การลีลาศ

ที่เคลื่อนที่ด้วยการยกเท้าก้าวไป เช่น  รุมบ้า  บีกิน  ชา ชา ช่า  โกว์ราช่า  เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้จากการลีลาศ

  1. ช่วยให้ร่างการสมบูรณ์แข็งแรง ทรวดทรงงาม
  2. ช่วยให้จิตใจเบิกบาน คลายความตึงเครียด  อารมณ์ดี
  3. ช่่วยให้สามารถเข้าสังคมได้ทั้งชายและหญิง
  4. ช่วยให้เกิดความมั่นใจในการทำงานและการแสดงออกต่อหน้าชุมชน
  5. ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในเพลง จังหวะและดนตรีนั้นๆ
  6. เป็นสื่อในการช่วยสร้างความสัมพันธ์ ความเป็นมิตรไมตรีกับผู้อื่น

มารยาทในการลีลาศ
              เนื่องจากลีลาศถือว่าเป็นศิลปะที่สวยงามและเป็นกิจกรรมที่

จัดขึ้นในงานสังคมเพื่อความสนุกสนาน ความเข้าใจอันดีในหมู่ผู้ร่วมงาน

อย่างหนึ่ง  ฉะนั้นเพื่อให้การลีลาศเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม  และบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายปลายทาง ผู้ลีลาศควรมีการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนตามหลักของมารยาทในการ

ลีลาศที่สำคัญๆ  ดังนี้

         ก.  การเตรียมตัว

            1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด  และรู้จักใช้ยาเพื่อระงับกลิ่นตัว
            2. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาดและสุภาพเรียบร้อยตามโอกาส
            3. ควรเลือกใช้เครื่องสำอางไม่ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นฉุนจนเกินไป
            4. ฝ่ายชายต้องนึกว่าตัวเองเป็นผู้ให้เกียรติแก่ฝ่ายหญิงอยู่เสมอ
            5. ควรซักซ้อมจังหวะลีลาศจังหวะต่างๆ  เพื่อให้เกิดความมั่นใจ
            6. ฝ่ายชายควรให้เกียรติไปรับฝ่ายหญิงและไปให้ถึงงานในเวลาอันสมควร

 

        ข. ก่อนออกลีลาศ

           1.ฝ่ายชายควรเป็นผู้เชื้อเชิญฝ่ายหญิงออกลีลาศ
           2. ก่อนเชิญฝ่ายชายควรแน่ใจว่าฝ่ายหญิงสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
          3.ไม่ควรเชื้อเชิญฝ่ายหญิงที่มากับผู้ชายอื่นออกลีลาศ  แต่ถ้าหากมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันแล้วก็อาจทำได้
          4. ถ้าหากฝ่ายหญิงปฏิเสธการออกลีลาศก็อาจทำได้แต่ควรปฏิเสธด้วยวาจาที่สุภาพเรียบร้อย
          5. ฝ่ายชายควรเห็นอกเห็นใจฝ่ายหญิงบ้าง ไม่ควรเชิญออกลีลาศทุกๆเพลงติดต่อกันมากเกินไปทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายหญิง

ได้มีโอกาสพักผ่อนบ้าง
          6. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะเพลงนั้นๆให้ออกเสียงก่อน

 

      ค. การลีลาศ

          1. ฝ่ายชายควรให้เกียรติฝ่ายหญิงโดยการเดินตามหรือเดินเคียงข้างในการขึ้นฟลอร์  แต่ถ้าหากว่ามีผู้คนมาก  ฝ่ายชายควรเป็นผู้ขอทางนำฝ่ายหญิงไปช้าๆ
          2. เริ่มลีลาศด้วยการจับคู่ให้ถูกต้องตามลักษณะของจังหวะลีลาศนั้นๆโดยฝ่ายชายเป็นผู้นำฝ่ายหญิง
          3. การจับคู่นั้น  ไม่ควรจับในลักษณะที่รัดแน่น  หรือห่างเกินไป  ควรอยู่ในระยะห่างกันพองาม
          4.ควรลีลาศในแบบที่ง่ายๆก่อนแล้วจึงเพิ่มแบบที่ยากขึ้นไปตามความสามารถของคู่ลีลาศ
          5. การลีลาศที่มีการเคลื่อนที่ตามฟลอร์ควรจะลีลาศไปตามทิศทางของการลีลาศนั้นๆ
          6. ควรลีลาศด้วยอารมณ์ที่ร่าเริง  สนุกสนาน
          7. ควรหลีกเลี่ยงการชน  การกระแทกในระหว่างผู้ลีลาศด้วยกัน  ถ้าหากเกิดขึ้นควรจะกล่าวคำขอโทษ
          8. ผู้ร่วมลีลาศทุกคนควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
          9. ควรลีลาศเฉพาะฟลอร์ที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น
          10. ควรใช้วาจาสุภาพ
          11. ไม่ควรเปลี่ยนคู่ลีลาศบนฟลอร์
          12. ไม่ควรหลิกแพลงแบบลีลาศมากเกินไป
          13. ไม่ควรลีลาศกับเพศเดียวกัน
          14. ขณะที่ลีลาศไม่ควรสูบบุหรี่ เคี้ยวอาหารหรือหมากฝรั่ง
          15. ควรให้กำลังคู่ลีลาศด้วยกัน

 

      ง. เมื่อลีลาศจบ

         1. ฝ่ายชายควรพาฝ่ายหญิงไปยังที่นั่งให้เรียบร้อย  พร้อมกล่าวคำขอบคุณฝ่ายหญิง
          2. การลงจากฟลอร์นั้น  ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับการพาฝ่ายหญิงขึ้นฟลอร์

คำแนะนำในการเรียนลีลาศ


              1.  รูปแบบรอยเท้าที่พิมพ์ในหนังสือนั้น  เสมือนว่าเป็นรูปแบบ

รอยเท้าที่เขียนลงบนพื้นฟลอร์
             2. ดูแนวลีลาศของชายและหญิงว่าชี้ไปทางใด
             3. เริ่มต้นควรยินให้ถูกทิศทางของการลีลาศ
ดูรอยเท้าให้ดูตั้งแต่จุดเริ่มต้น  ต่อไปให้ดูตัวเลขกำกับรอยเท้า  โดยดูตั้งแต่เลข 1,2,3  ไปเรื่อย ๆ
              4. ไม่ควรถือหนังสือแล้วเดินตามรอยเท้าเวลาเราหันหนังสือ

จะหันตามทำให้งง
             5. ควรวางหนังสือไว้พื้นหรือว่าให้เพื่อนถือ
             6. ควรเขียนรอยเท้าลงบนพื้นแล้วลีลาศตามรอยนั้น
             7. พยายามทำความเข้าใจกับทิศทางของการลีลาศให้มากที่สุด
             8. ควรฝึกกับคู่มากกว่าฝึกเดี่ยวเพราะจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

การเคลื่อนไหวของร่างกาย


               การเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  ดังนี้

 

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่  หมายถึงการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ  ของร่างกายในขณะที่ยืนอยู่หรือนั่งอยู่กับที่  เช่น  ตบมือ  ก้มเงย  ผงกศีรษะ 

สั่นศีรษะ สั่นแขน  ผลัก  ดัน  บิดตัว  ยกเท้า  นั่งลง  ลุกขึ้น  กระทืบเท้า  เหยียดเท้าและเหยียดแขนออกไป  เป็นต้น

 

2.  การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ 

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่  หมายถึงการเคลื่อนไหวที่

ต้องเคลื่อนออกจากจุดยืนเดิมการเคลื่อนไหวแบบนี้ขึ้นอยู่กับ

การใช้เท้าเป็นสำคัญ  โดยการก้าวเท้าออกไปในลักษณะต่าง ๆ  กัน 

เช่น  การเดิน การวิ่ง  การกระโดดไปข้างหน้าและข้างหลัง  เป็นต้น

 

ขอบคุณที่มาบทความ http://www.bantan.ac.th/physical/html/pavadk11.html

ความคิดเห็น

  1. 1
    ชาลิณี เนียนไธสง ม.6/1

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ  ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ

  2. 2
    โสภาพร  แก่นพ่อ  ม.6/1

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ โดยให้มีอารมณ์หรือ ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ   ดีมากค่ะ

  3. 3
    โสภาพร  แก่นพ่อ  ม.6/ๅ

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ โดยให้มีอารมณ์หรือ ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ   ดีมากค่ะ

  4. 4
    โสภาพร
    โสภาพร แก่นพ่อ 10/06/2014 12:24

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ  ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ

  5. 5
    ชัยบัณฑิต เพชรมณี ม6/2

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ  ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหว

  6. 6
    ชัยบัณฑิต เพชรมณี

    มีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะ  ต่าง ๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ


    ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้น ๆ 

  7. 7
    เจนจิรา จันชะฎา 6/2

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ  ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ

  8. 8
    นภาภรณ์  เกศสุระ  6/2

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ โดยให้มีอารมณ์หรือ ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ

  9. 9
    พุฒินันท์ พงษ์พานิช 6/2

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ  ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ

  10. 10
    จุฑาทิพย์ แสนเวียง 6/2

    ได้รู้การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ  ของร่างกายตามจังหวะต่างๆ  โดยให้มีอารมณ์หรือ  ความรู้สึกร่วมกับการเคลื่อนไหวนั้นๆ

 1  2  3  4  5  6  7 [Next]

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view