http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,383
เปิดเพจ1,326,336

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

กีฬาเทเบิลเทนนิส

กีฬาเทเบิลเทนนิส




                           ประวัติกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส
 
          กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เล่นปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง "ปิก-ป๊อก"  ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า "ปิงปอง" (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน
 
          ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP  หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบนยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับแบบยุโรป" และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับไม้แบบจีน" 
 
          ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ.  2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND)  และ หลังมือ  (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง
 
          ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465)  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า "PINGPONG" ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ขึ้น เป็นครั้งแรก
 
          จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับวิธีการเล่นโดยเน้นไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย  ทำให้จึงกีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

ในเรื่องเทคนิคของการเล่นนั้น ยุโรปรุกด้วยความแม่นยำ และมีช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ญี่ปุ่นสามารถชนะการเล่นของยุโรปได้  แม้ในช่วงแรกหลายประเทศจะมองว่าวิธีการเล่นของญี่ปุ่น เป็นการเล่นที่ค่อนข้างเสี่ยง แต่ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในการแข่งขันติดต่อกันได้หลายปี เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของยุโรปเลยทีเดียว
 
          ในที่สุดสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ด้วยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน  ซึ่งจีนได้ศึกษาการเล่นของญี่ปุ่น ก่อนนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเล่นแบบที่จีนถนัด กระทั่งกลายเป็นวิธีการเล่นของจีนที่เราเห็นในปัจจุบัน
 
          หลังจากนั้นยุโรปได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง และในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป และผู้เล่นชาวเอเชีย แต่นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงแล้ว ขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเก่งขึ้น  ทำให้ยุโรปสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ
 
          จากนั้นในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้กับชาวยุโรป  โดยในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรป และนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับ และลาตินอเมริกา  ก็เริ่มก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น และมีการแปลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิค ทำให้การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหายไปตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)  เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง
 
          จากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  และมีการปรับปรุงหน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ที่มีความยาวของเม็ดยางมากกว่าปกติ โดยการใช้ยางที่สามารถเปลี่ยนวิถีการหมุน และทิศทางของลูกเข้าได้ จึงนับได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ และมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา กระทั่งกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
 
          สำหรับประวัติกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสในประเทศไทยนั้น ทราบเพียงว่า คนไทยรู้จักคุ้นเคย และเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านาน แต่รู้จักกันในชื่อว่า กีฬาปิงปอง โดยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า มีการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี  โดยในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งมีการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การเล่นกีฬาปิงปอง หรือเทเบิลเทนนิส
 
          กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้
 
           ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้

           1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด 

           2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย

           3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

           4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น

           5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน

           6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

           7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

           8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่ 

           9. เท้า :  หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

วิธีการเล่นกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส

           1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร

           2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่

           3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่

           4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน

           5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ

           6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ 

                    6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน

                    6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน

ขอบคุณทีมาบทความ 

http://hilight.kapook.com/view/72172

                           กติการการเล่น เทเบิลเทนนิส

1.1 พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” (PLAYING SURFACE) จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 1.525 เมตร (5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นที่ผิวโต๊ะ สูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว) 
1.2  พื้นผิวโต๊ะ ไม่รวมถึงด้านข้างตามแนวตั้งที่อยู่ต่ำกว่าขอบบนสุดของโต๊ะลงมา 
1.3  พื้นผิวโต๊ะอาจทำด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม่ำเสมอเมื่อเอาลูกเทเบิลเทนนิสมาตรฐานปล่อยลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร โดยวัดจากพื้นผิวโต๊ะลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร 
1.4  พื้นผิวโต๊ะจะต้องเป็นสีเข้มสม่ำเสมอและเป็นสีด้าน ไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้นผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้าน จะทาด้วยสีขาว มีขนาดกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นข้าง” (SIDE LINE) เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านกว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองด้านเรียกว่า “เส้นสกัด” (END LINE) 
1.5  พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน (COURTS) เท่า ๆ กัน กั้นด้วยตาข่ายซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด
1.6  สำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยเส้นสีขาว มีขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้าง เรียกว่า “เส้นกลาง” (CENTER LINE) และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ดด้านขวาของโต๊ะด้วย
1.7  ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล โต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น โดยโต๊ะเทเบิลเทนนิสจะมีสีเขียวหรือน้ำเงิน และในการแข่งขันจะต้องระบุสีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง

ส่วนประกอบของตาข่าย

      2.1  ส่วนประกอบของตาข่ายจะประกอบด้วย ตาข่าย ที่แขวนและเสาตั้ง รวมไปถึงที่จับยึดกับโต๊ะเทเบิลเทนนิส 
      2.2  ตาข่ายจะต้องขึงตึงและยึดด้วยเชือกซึ่งผูกติดปลายยอดเสาซึ่งตั้งตรงสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร (6 นิ้ว)
      2.3  ส่วนบนสุดของตาข่าย ตลอดแนวยาวจะต้องสูงจากพื้นผิวโต๊ะ 15.25 เซนติเมตร 
      2.4 ส่วนล่างสุดของตาข่ายตลอดแนวยาวจะต้องอยู่ชิดกับพื้นผิวโต๊ะให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และส่วนปลายสุดของตาข่ายทั้งสองด้านจะต้องอยู่ชิดกับเสาให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ 
      2.5 ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากล ตาข่ายที่ใช้สำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น

ลูกเทเบิลเทนนิส 

3.1  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องกลมและมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร 
3.2  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องมีน้ำหนัก 2.7 กรัม 
3.3  ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องทำด้วยเซลลูลอยด์หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน 
3.4  ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่ใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง

ไม้เทเบิลเทนนิส

4.1  ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและแข็ง 
4.2  อย่างน้อยที่สุด 85 % ของความหนาของไม้ จะต้องทำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายในหน้าไม้ ซึ่งทำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์ กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหมดของไม้ หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า 
4.3  หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับวัสดุนั้นจะเป็นแผ่นยางเม็ดธรรมดา แผ่นยางชนิดนี้ เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางชนิดสอดไส้ แผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมีความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร ทั้งนี้ความสูงของเม็ดยางจะเท่ากับความกว้างของเม็ดยางในอัตราส่วน 1: 1 
4.3.1 แผ่นยางเม็ดธรรมดา (ORDINARY PIMPLED RUBBER) จะต้องเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวและไม่มีฟองนี้รองรับโดยหันเอาเม็ดยางออกมาด้านนอก จะทำด้วยยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดยางกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่มากกว่า 30 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร
4.3.2  แผ่นยางชนิดสอดไส้ (SANDWICH RUBBER) ประกอบด้วยฟองน้ำชนิดเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางธรรมดาชิ้นเดียว โดยจะหันเอาเม็ดยางอยู่ด้านในหรืออยู่ด้านนอกก็ได้ ซึ่งความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร 
4.4  วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้านนั้น ๆ และจะต้องไม่เกินขอบน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ใกล้กับด้ามจับที่สุดและที่วางนิ้วอาจจะหุ้มหรือไม่หุ้มด้วยวัสดุใด ๆ ก็ได้ 
4.5  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้ และชั้นของวัสดุปิดทับต่าง ๆ หรือกาว จะต้องสม่ำเสมอและมีความหนาเท่ากันตลอด 
4.6  หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง (BRIGHT RED) และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีดำ (BLACK) และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม่ำเสมอไม่สะท้อนแสง
4.7  วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้สำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของ บริษัท ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น  และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อ ยี่ห้อและชนิด (BRAND AND TYPE) ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) ครั้งหลังสุดเท่านั้น
4.8 สำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นพิษ จะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นสำเร็จรูปหรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (ITTF) เท่านั้น และห้ามใช้กาวในการติดยางกับไม้เทเบิลเทนนิสในบริเวณสนามแข่งขัน
4.9  การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับ หรือความไม่สม่ำเสมอของสีหรือขนาดเนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจางอาจจะอนุญาตให้ใช้ได้ โดยเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้ หรือวัสดุปิดทับ 
4.10  เมื่อเริ่มการแข่งขัน และเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นจะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขัน และกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง 
4.11 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามกติกา 
4.12 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด

คำจำกัดความ (DEFINITIONS)

      5.1 การตีโต้ (RALLY) หมายถึงระยะเวลาที่ลูกอยู่ในการเล่น
      5.2 ลูกอยู่ในการเล่น (INPLAY) หมายถึง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้หยุดนิ่งบนฝ่ามืออิสระก่อนการส่งลูกในจังหวะสุดท้ายจนกระทั่งลูกนั้นถูกสั่งให้เป็นเลท หรือได้คะแนน
      5.3 การส่งใหม่ (LET) หมายถึง การตีโต้ที่ไม่มีผลได้คะแนน
      5.4  การได้คะแนน (POINT) หมายถึง การตีโต้ที่มีผลได้คะแนน
      5.5  มือที่ถือไม้ (RACKET HAND) หมายถึง มือในขณะที่ถือไม้เทเบิลเทนนิส
      5.6  มืออิสระ (FREE HAND) หมายถึง มือในขณะที่ไม่ได้ถือไม้เทเบิลเทนนิส
      5.7 การตีลูก (STRIKES) หมายถึง การที่ผู้เล่นสัมผัสลูกด้วยไม้เทเบิลเทนนิสขณะที่ถืออยู่ หรือสัมผัสลูกด้วยมือที่ถือไม้เทเบิลเทนนิสตั้งแต่ข้อมือลงไป
      5.8 การขวางลูก (OBSTRUCTS) หมายถึง ขณะที่ลูกอยู่อยู่ในการเล่น หลังจากที่ฝ่ายตรงข้ามตีลูกมา โดยลูกนั้นยังไม่ได้กระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง หละยังไม่พ้นเส้นสกัด ปรากฏว่าผู้เล่นหรือสิ่งใด ๆ ที่เขาสวมใส่หรือถืออยู่สัมผัสถูกลูก ขณะลูกนั้นอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกนั้นมีทิศทางวิ่งเหข้าหาพื้นผิวโต๊ะ 
      5.9  ผู้ส่ง (SERVER) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งแรกในการตีโต้
      5.10  ผู้รับ (RECEIV) หมายถึง ผู้ที่ตีลูกเทเบิลเทนนิสเป็นครั้งที่สองในการตีโต้
      5.11  ผู้ตัดสิน (UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขัน
      5.12  ผู้ช่วยตัดสิน (ASSISTANT UMPIRE) หมายถึง ผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ตัดสินในการแข่งขัน
      5.13  สิ่งใด ๆ ที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ หมายรวมถึง สิ่งใด ๆ ก็ตามที่ผู้เล่นสวมใส่หรือถืออยู่ตั้งแต่เริ่มการตีโต้ 
      5.14  ลูกเทเบิลเทนนิสจะถูกพิจารณาว่าผ่านตาข่าย ถ้าข้ามผ่านหรืออ้อม หรือลอดส่วนประกอบของตาข่าย ยกเว้นลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับพื้นผิวโต๊ะ หรือลูกที่ลอดระหว่างตาข่ายกับอุปกรณ์ที่ยึดตาข่าย 
      5.15  เส้นสกัด (END LINE) หมายรวมถึง เส้นสมมติที่ลากต่อออกไปจากเส้นสกัดทั้งสองด้านด้วย

การส่งลูกที่ถูกต้อง (A GOOD SERVICE)

      6.1 เมื่อเริ่มส่ง ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระ โดยแบฝ่ามือออกและลูกจะต้องอยู่นิ่ง
      6.2 ในการส่ง ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ลูกลอยขึ้นข้างบนใกล้เคียงกับเส้นตั้งฉาก และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูกทำให้หมุนด้วยความตั้งใจ 
      6.3 ผู้ส่ง จะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสได้ลดระดับจากจุดสูงสุดแล้วเพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่ายรับ สำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบครึ่งแดนขวาของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ 
      6.4 ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนหระทั่งลูกถูกตี ลูกเทบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ และอยู่หลังเส้นสกัด และจะต้องไม่ให้ถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่ บังการมองเห็นของผู้รับ ขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิสถูกโยนขึ้น มืออิสระของผู้ส่งจะต้องเคลื่อนออกจากบริเวณพื้นที่ระหว่างลำตัวผู้ส่งและตาข่าย (NET) (วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ต้องการให้ผู้รับเห็นลูกเทเบิลเทนนิสตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้ส่งหรือคู่ของผู้ส่งจะต้องไม่แสดงท่าทางที่จะต้องการบังการมองเห็นของผู้รับตลอดเวลาตั้งแต่ลูกออกจากมือของผู้ส่ง และเห็นถึงหน้าไม้ด้านที่ใช้ตีลูก)
      6.5 เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องส่งให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจสอบถึงการส่งนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ 
           6.5.1 ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่ง ว่าผู้ส่งได้ส่งลูกถูกตามกติกาในโอกาสแตกของแมทช์เดียวกันนั้น จะแจ้งให้ส่งลูกใหม่ และเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ตัดคะแนน 
           6.5.2 สำหรับในครั้งต่อไปในแมทช์เดียวกันนั้น หากผู้เล่นหรือคู่เล่นยังคงส่งให้เป็นข้อสงสัยในทำนองเดียวกัน หรือในลักษณะน่าสงสัยอื่น ๆ ผู้รับจะได้คะแนนทันที 
           6.5.3 หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันที 
      6.6 ผู้ส่งอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงการหย่อนสมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนการแข่งขันทุกครั้ง

การรับลูกที่ถูกต้อง (A GOOD RETURN) 

      7.1 เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสได้ถูกส่งหรือตีโต้ไปตกลงในแดนตรงข้ามอย่างถูกต้องแล้ว ฝ่ายรับตีลูกข้ามหรืออ้อมตาข่ายกลับไป เพื่อให้ลูกกระทบแดนของอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของตาข่ายแล้วตกลงในแดนของฝ่ายตรงข้าม

ลำดับการเล่น (THE ORDER OF PLAY)

      8.1 ประเภทเดี่ยว ฝ่ายส่งได้ส่งอย่างถูกต้อง ฝ่ายรับจะตีโต้กลับไปอย่างถูกต้องหลังจากนั้นฝ่ายส่งและฝ่ายรับจะผลัดกันตีโต้ 
       8.2 ประเภทคู่ ผู้ส่งลูกของฝ่ายส่งจะส่งลูกไปยังฝ่ายรับ ผู้รับของฝ่ายรับจะต้อตีลูกกลับ แล้วคู่ของฝ่ายส่งจะตีลูกกลับไป จากนั้นคู่ของฝ่ายรับก็จะตีลูกกลับไปเช่นนี้สลับกันไปในการตีโต้

สนามเทเบิลเทนนิส

ขอบคุณทีมาบทความ

ศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ

http://www.ipelp.ac.th/Center%20Sport/sara/sara%204/sara4.html

ความคิดเห็น

  1. 1
    Maprang
    Maprang Sudarat muangdoo 11/07/2016 09:15
    สุดารัตน์ เมืองดู่
    อิอิ
  2. 2
    ธัญญ่า
    ธัญญ่า klao.tanya01122545@gmail.com 25/09/2013 20:01

    ชอบกีฬานี้มากเลยค่ะเล่นแล้วสนุก




  3. 3
    เซาวเรศ   เเซ่ตั้ง  1/2
    เซาวเรศ เเซ่ตั้ง 1/2 p.orn@hotmail.com 22/05/2013 10:33

    ดีมากๆ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view