http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,408
เปิดเพจ1,326,361

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

ระบบโครงกระดูก

ระบบโครงกระดูก

ระบบโครงกระดูก

        ระบบกระดูกของมนุษย์ทำหน้าที่พยุงและป้องกันอวัยวะภายในของร่างกายตลอดจนเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อประกอบด้วยโครงกระดูกมากกว่า 200 ชิ้น

   

 

โครงกระดูกมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้

  • ค้ำจุนละรักษารูปร่างให้ทรงตัวอยู่ได้  
  • ป้องกันอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงป้องกันหัวใจ ปอด และตับกะโหลกศีรษะป้องกันเนื้อเยื่อสมอง เป็นต้น
  • เป็นที่ยึดเกาะของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อเยื่อช่วยในการเคลื่อนที่
  • สร้างเม็ดเลือด ไขกระดูกที่อยู่ภายในกระดูกจะทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
  • เป็นแหล่งสะสมสำคัญของธาตุแคลเซียมละฟอสฟอรัส

กระดูกของคนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กระดูกแกน ( Axial Skeleton) หมายถึง กระดูกที่อยู่บริเวณกลางๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย

1.1 กระดูกกะโหลกศีรษะ ( Skull) ภายในกะโหลกศีรษะเป็นโพรงสำหรับบรรจุสมอง จะมีกระดูกกะโหลกศีรษะและ
กระดูกย่อยหลายๆ ชิ้นเชื่อมติดกัน กระดูกกะโหลกศีรษะจึงทำหน้าที่ห่อหุ้มและป้องกันสมองด้วย

1.2 กระดูกสันหลัง ( Vertebra) เป็นส่วนของกระดูกแกนที่ช่วยค้ำจุนและรองรับน้ำหนักของร่างกาย กระดูกสันหลัง
เป็นแนวกระดูกที่ทอดอยู่ทางด้านหลังของร่างกาย ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ ติดกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น

ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อนหรือที่เรียกทั่วไปว่า “ หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc)”
ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เพื่อป้องกันการเสียดสี ถ้าแผ่นกระดูกอ่อนนี้เสื่อมเราจะปวดหลัง และไม่สามารถบิดหรือเอียงตัวได้

1.3 กระดูกซี่โครง ( Ribe) มีลักษณะเป็นซี่ๆ มีทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นกำแพงให้ส่วนอก กระดูกซี่โครงจะเชื่อมกบกระดูกอก ( Sternum) ด้วยกระดูกอ่อน ระหว่างกระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อยึดซี่โครงทั้งแถบนอกและแถบใน การหดตัวและการคลายตัวของกล้ามเนื้อ 2 ชุดนี้สลับกันเกิดการเคลื่อนที่เข้า ออกของอากาศภายนอกและภายในช่องอก มีผลทำให้กระดุกซี่โครงเคลื่อนขึ้นและลง และทำให้ปริมาตรภายในช่องอกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

2. กระดูกรยางค์ ( Appendicular Skeleton) หมายถึงโครงกระดูกที่อยู่รอบนอกกระดูกแกนซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหวของแขน ขา โดยตรง รวมทั้งกระดูกสะบักและกระดูกเชิงกรานที่เป็นฐานรองกระดูกแขนและกระดูกขา

        กระดูกแขนเริ่มแต่บริเวณไหล่ มีกระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้าทำหน้าที่เป็นฐานรองแขน เชื่อมโยงระหว่างกระดูกสันหลัง
ด้านบนของลำตัวกับกระดูกต้นแขน

        กระดูกขาเริ่มตั้งแต่บริเวณเชิงกรานที่ต่อกับกระดูกต้นขา และจากกระดูกต้นขา มีสะบ้าหัวเข่าที่ฝังอยู่ในเอ็นของกล้ามเนื้อและต่อกับกระดูกแข็ง

กระดูกรยางค์( appendicular  skeleton )   เป็นกระดูกที่ยื่นจากกระดูกแกนออกไป มีทั้งหมด 126 ชิ้น

      ประกอบด้วย

      -  กระดูกแขนข้างละ 30 ชิ้น

      -   กระดูกขาข้างละ 30 ชิ้น

      -  กระดูกสะบักข้างละ 1 ชิ้น

       -   กระดูกเชิงกรานข้างละ 1 ชิ้น

      -  กระดูกไหปลาร้าข้างละ 1 ชิ้น

 

ข้อต่อและเอ็นเชื่อมกระดูก


        ข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปที่อยู่ใกล้กันมาเชื่อมต่อกันโดยมีเอ็นละกล้ามเนื้อช่วยยึดเสริมความแข็งแรง ทำให้มีความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น

 

 

เอ็นเชื่อมกระดูก

เป็นเนื้อเยื่อยึดเหนี่ยวที่มีความเหนียวทนทาน มี 2 ชนิด คือ


1.เอ็นที่เชื่อมระหว่าง กระดูกกับกล้ามเนื้อ มีลักษณะแข็งแรง ทนทานยืดหดไม่ได้ และ

2.เอ็นที่เชื่อมระหว่างกระดูกกับกระดูก มีลักษณะแข็งแรง ทนทาน แต่ยืดหดได้ ถ้าเอ็นยึดกระดูกฉีกขาด หรือยืดตัวออกมามากๆ เนื่องจากการบิด หรือดึงตรงบริเวณข้อต่อมาก ๆ จะทำให้ข้อเคล็ดได้ จะมีอาการบวม และเจ็บปวด เพราะมีน้ำเหลือง และเลือดซึมออกมาขังในเนื้อเยื่อ วิธีรักษา ควรใช้ถุงน้ำแข็งวางบนตำแหน่งที่เจ็บปวด อย่าใช้ถุงน้ำร้อน เพราะจะทำให้เจ็บปวดยิ่งขึ้น

 

ขอขอบคุณที่มาบทความ

http://www.thaigoodview.com/node/ 9398

ความคิดเห็น

  1. 1
    สหรัฐ  ทนหงษา
    สหรัฐ ทนหงษา 0804067683 11/07/2016 10:19

    ดีมากคับ

  2. 2
    พรรณา       จำปาเวียง
    พรรณา จำปาเวียง prrnna05018@hotmail.com 11/07/2016 10:01

    เว็บดีมากครับผม

  3. 3
    ชนาธิป สิกขา 4/2
    ชนาธิป สิกขา 4/2 sonkid119@gmail.com 11/07/2016 09:56

    ขอบคุณคับ

  4. 4
    milk
    milk 22/09/2012 14:14

    thank you dad


แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view