http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,367
เปิดเพจ1,326,319

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

ประวัติกีฬาเซปัค - ตะกร้อ

ประวัติกีฬาเซปัค - ตะกร้อ

ประวัติตะกร้อไทย ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิด โดยการนำเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่นตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้
โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า, หนังสัตว์, หวาย,
จนถึงประเภทสังเคราะห์ (พลาสติก)

ขอคุณแหล่งที่มาบทความ  http://iblog.siamhrm.com

ประวัติตะกร้อ

ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดประวัติตะกร้อ การกีฬาตะกร้อในอดีตนั้นยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใดจากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้

ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้าทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipakทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปักประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

ขอคุณแหล่งที่มาบทความ  http://iblog.siamhrm.com

กติกาเซปักตะกร้อใหม่ล่าสุด

กติกาเซปักตะกร้อ

ของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ (ISTAF)

                                                                                

กติกาเซปักตะกร้อ

Laws  of  the  Game  Sepaktakraw

 

ข้อที่ 1 สนามแข่งขัน  ( THE  COURT )

1.1  สนาม พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง ใด ๆ วัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร ( พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )

1.2  เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นเป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากขอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนพื้นที่สนามแข่งขันด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร

1.3  เส้นกลาง มีขนาดความกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่า ๆ กัน

1.4  เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลาง ให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลาง ตัดกับเส้นขอบนอกของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้าน รัศมี  90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตรนอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร

1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้มีรัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากขอบด้านนอกเส้นหลังเข้าไปในสนามยาว 2.45 เมตร และวัดจากเส้นข้างเข้าไปในสนามยาว 3.05 เมตร ให้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร

ข้อที่  2  เสา (  THE  POST  )

2.1  เสามีความสูง1.55 เมตร สำหรับผู้ชาย และ 1.45 เมตร สำหรับผู้หญิง เสาให้ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึงได้ โดยเสาต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร.

2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลางห่างจาก เส้นข้าง 30 เซนติเมตร

ข้อที่  3 ตาข่าย ( THE  NET  )

3.1 ตาข่ายให้ด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน มีรูตาข่ายขนาดกว้าง 6-8 เซนติเมตร

3.2 ตาข่าย เมื่อขึงตึงอยู่เหนือเส้นกลาง มีขนาดความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร

3.3 แถบข้างตาข่าย ตรงปลายทั้งสองด้านของตาข่ายให้มีแถบขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ติดตั้งตรงอยู่เหนือแนวเส้นข้างและถือเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย                                   

3.4 ตาข่ายให้มีแถบขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดา หรือไนล่อนอย่างดีร้อยผ่านแถบ สามารถขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับ

     ความสูงของเสาได้

3.5 ความสูงของตาข่าย วัดจากพื้นถึงขอบบนของตาข่ายกึ่งกลางสนาม มีความสูง 1.52 เมตร สำหรับผู้ชาย และ 1.42 เมตร สำหรับผู้หญิง ในขณะที่บริเวณ

     หัวเสา มีความสูง 1.55 เมตร  สำหรับผู้ชาย และ 1.45 เมตร สำหรับผู้หญิง

ข้อที่  4  ลูกตะกร้อ  (  THE  SEPAKTAKRAW  BALL  )

4.1 ลูกตะกร้อแต่เดิมทำด้วยหวาย มีลักษณะเป็นลูกทรงกลม ปัจจุบันทำด้วยใยสังเคราะห์ ถักสานเป็นชั้นเดียว

4.2 ลูกตะกร้อที่ไม่ได้เคลือบด้วยยางสังเคราะห์ ต้องมีลักษณะดังนี้

      4.2.1  มี  12 รู

      4.2.2  มีจุดตัดไขว้ 20 จุด

      4.2.3  มีขนาดของเส้นรอบวง  41 – 43  เซนติเมตร สำหรับผู้ชาย และ 42 – 44 เซนติเมตร สำหรับผู้หญิง    

      4.2.4  มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 170 – 180 กรัม สำหรับผู้ชาย และ 150 - 160 กรัม สำหรับผู้หญิง

4.3 ลูกตะกร้ออาจมีสีเดียวหรือหลายสีหรือใช้สีสะท้อนแสงก็ได้ แต่จะต้องไม่เป็นสีที่ทำให้ขีดความสามารถของผู้เล่นลดลง

4.4 ลูกตะกร้ออาจทำด้วยยางสังเคราะห์หรือเคลือบด้วยวัสดุนุ่มที่มีความคงทน  เพื่อให้มีความอ่อนนุ่มต่อการกระทบกับร่างกายของผู้เล่น ลักษณะของวัสดุและวิธี

      การผลิตลูกตะกร้อหรือการเคลือบลูกตะกร้อด้วยยางหรือวัสดุที่อ่อนนุ่มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากสหพันธ์ ( ISTAF ) ก่อนการใช้ในการแข่งขัน

4.5 รายการแข่งขันระดับโลก, นานาชาติ และการแข่งขันระดับภูมิภาคที่ได้รับการรับรอง จากสหพันธ์  ( ISTAF ) รวมทั้งในการแข่งขันโอลิมปิคเกมส์,

      เวิลด์เกมส์, กีฬาเครือจักรภพ,  เอเชี่ยนเกมส์ และซีเกมส์ ต้องใช้ลูกตะกร้อที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ ( ISTAF )                                                                       

ข้อที่  5  ผู้เล่น ( THE  PLAYERS  )

5.1  การแข่งขันมี  2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน

5.2  ผู้เล่นคนหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้เสิร์ฟและอยู่ด้านหลัง เรียกว่า“ เตกอง หรือ     ผู้เสิร์ฟ” ( TEKONG OR SERVER )

5.3  ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายและอีกคนหนึ่งจะอยู่ด้านขวา คนที่อยู่ด้านซ้าย เรียกว่า “ หน้าซ้าย “ ( LEFT  INSIDE ) และคนที่อยู่

       หน้าขวา เรียกว่า “ หน้าขวา “ ( RIGHT  INSIDE )

 

 

 

5.4 ประเภททีมชุด

      5.4.1 แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 9 คน และไม่เกิน 12 คน    ( 3 ทีม ผู้เล่นทีมละ3 คน สำรอง  3 คน )   ผู้เล่นแต่ละคนต้องลงทะเบียนเพื่อเข้า

              ร่วมการแข่งขันทุกครั้ง แต่ละทีมจะมีผู้เล่นที่ลงทะเบียนเป็นผู้เล่นสำรอง ได้ไม่เกิน 3 คน  และอนุญาตให้ผู้เล่นสำรอง เปลี่ยนตัวลงแข่งขันได้ได้เพียงทีม

              ใดทีมหนึ่งเท่านั้น

      5.4.2 ก่อนการแข่งขัน แต่ละทีมต้องมีผู้เล่นที่ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 9 คน   พร้อมที่จะลงแข่งขันในสนามแข่งขัน

      5.4.3 ทีมใดมีผู้เล่นน้อยกว่า 9 คน จะไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขัน และถือว่าถูกปรับเป็นแพ้ในการแข่งขัน

5.5  ประเภททีมเดี่ยว

       5.5.1 แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน และไม่เกิน 5 คน ( 1 ทีม มีผู้เล่น 3 คน สำรอง 2 คน )   ผู้เล่นทุกคนต้องลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการ

               แข่งขันทุกครั้ง

       5.5.2 ก่อนการแข่งขัน แต่ละทีมต้องมีผู้เล่นที่ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 3 คน พร้อมที่จะลงแข่งขันในสนามแข่งขัน

       5.5.3 ในระหว่างการแข่งขัน ทีมใดมีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คนในสนามแข่งขัน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขัน และถูกปรับเป็นฝ่ายแพ้ในการแข่งขัน

ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER’S  ATTIRE )

6.1 อุปกรณ์ที่ผู้เล่นใช้ต้องเหมาะสมกับการเล่นเซปักตะกร้อ อุปกรณ์ใดที่ออกแบบเพื่อเพิ่ม หรือลดความเร็วของลูกตะกร้อ เพิ่มความสูงของผู้เล่นหรือการเคลื่อนไหว

     หรือให้เกิดความได้เปรียบใด ๆ หรืออาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้เล่นและคู่แข่งขัน จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้

6.2 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนหรือเกิดการขัดแย้งโดยไม่จำเป็นทั้งสองทีม ทีมที่เข้าแข่งขัน ต้องใช้เสื้อสีต่างกัน

6.3 แต่ละทีมต้องมีชุดแข่งขันอย่างน้อย 2 ชุด เป็นสีอ่อนและสีเข้ม หากทั้งสองทีมที่เข้าร่วมการ แข่งขันใช้เสื้อสีเดียวกัน ทีมเจ้าบ้านต้องเปลี่ยนสีเสื้อทีม ในกรณี

     สนามกลางทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขันต้องเปลี่ยนสีเสื้อทีม

6.4 เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอบด้วย เสื้อยืดคอปกหรือ คอกลมแขนสั้น กางเกงขาสั้น ถุงเท้าและรองเท้าพื้นยางไม่มีส้น ส่วนต่าง ๆ ของเครื่องแต่งกายของผู้

     เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลา ในกรณีที่อากาศหนาว  อนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มทำการแข่งขัน

6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง และผู้เล่นแต่ละคนต้องใช้หมายเลขประจำนั้นตลอดการแข่งขัน ให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1-

     36 เท่านั้น  สำหรับขนาดของหมายเลข ด้านหลังสูงไม่น้อยกว่า 19 ซม. และด้านหน้า สูงไม่น้อย กว่า 10 ซม.  ( ตรงกลางหน้าอก ) เสื้อทีมต้องมีชื่อของผู้

     เล่นอยู่เหนือหมายเลขด้านหลังเสื้อ และมีขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้จากทางโทรทัศน์ เสื้อทีมอาจมีสัญลักษณ์ของผู้สนับสนุนที่ด้านหน้าของเสื้อทีม 

     โดยให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของการแข่งขัน ห้ามไม่ให้มีตราสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ของผู้ผลิตเสื้อปรากฏอยู่บนเสื้อของผู้เล่นโดยเด็ดขาด

6.6 หัวหน้าทีมต้องสวมปลอกแขนที่ด้านซ้ายของแขนเสื้อ และให้สีต่างจากสีเสื้อของผู้เล่น

6.7 เครื่องแต่งกายอื่นใดที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกานี้ ต้องได้รับการรับรองจากกรรมการเทคนิคของสหพันธ์ ( ISTAF ) ก่อน

ข้อที่ 7 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น  ( SUBSTITUTION )

7.1   ในทีมชุด ผู้เล่นแค่ละคนที่ลงแข่งขันในทีมใดแล้ว จะไม่มีการแข่งขันซ้ำในทีมอื่นอีก

7.2  การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำในเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อ กรรมการผู้ชี้ขาด( Official  Referee ) เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น

7.3  ประเภททีมเดี่ยว ในการแข่งขันแต่ละครั้งให้แต่ละทีมมีผู้เล่นสำรองได้ไม่เกิน 2 คน นอกเหนือจากผู้เล่น 3 คนที่เริ่มเล่นในสนามและสามารถทำการเปลี่ยนตัว

      ได้ไม่เกิน 2 ครั้งในแต่ละเซ็ท   

       ประเภททีมชุด ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ให้แต่ละทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวผู้เล่นสำรองได้   ไม่เกิน 1 คน นอกเหนือจากผู้เล่น 3 คนที่เริ่มเล่นในสนามและสามารถ

      ทำการ    เปลี่ยนตัวได้ ไม่เกิน 2 ครั้งในแต่ละเซ็ท   การเปลี่ยนตัวทุกครั้งให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรรมการประจำสนาม  ( Court  Referee ) และให้

      กระทำที่ด้านข้างของสนาม โดยให้อยู่ในสายตาของ  ผู้ตัดสิน  ( Match Referee ) การเปลี่ยนตัวสามารถกระทำได้ในระหว่างการแข่งขัน เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้

      อยู่ใน การเล่น หรือในทันทีที่เริ่มการแข่งขันในแต่ละเซ็ท การเปลี่ยนตัวสามารถเปลี่ยนตัวได้ 1 คนหรือ 2 คนพร้อมกันในเวลาเดียวกัน สำหรับประเภททีมเดี่ยว

      เท่านั้น  ก่อนการแข่งขันในเซ็ทใหม่ ทีมใดมีการเปลี่ยนตัวในการพักระหว่างเซ็ทให้ถือเป็น การเปลี่ยนตัวในเซ็ทใหม่

7.4 ถ้ามีผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บและไม่สามารถทำการแข่งขันต่อไปได้ อนุญาตให้ ทีมนั้น ทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิในการเปลี่ยนตัว  แต่ถ้ามีการ

     เปลี่ยนตัวครบ  2 ครั้งในเซ็ทนั้นแล้ว การแข่งขันจะยุติลงและทีมดังกล่าวจะถูกปรับให้เป็นแพ้ในการแข่งขัน

7.5  ถ้าผู้เล่นได้รับบัตรแดง จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน  อนุญาตให้ทีมนั้น  ทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่น ถ้ายังไม่ได้ใช้สิทธิในการเปลี่ยนตัว แต่ถ้ามีการเปลี่ยน

      ตัวผู้เล่น ครบ  2 ครั้งในเซ็ทนั้นแล้ว การแข่งขันจะยุติลงและทีม’ดังกล่าวจะถูกปรับให้เป็นแพ้ ในการแข่งขัน

7.6  มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน การแข่งขันจะยุติลง และทีมดังกล่าวจะถูกปรับให้เป็นแพ้ในการแข่งขัน

ข้อที่ 8 การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE TOSS OF COIN AND WARM UP )

8.1 ก่อนเริ่มการแข่งขัน กรรมการประจำสนาม ( Court  Referee ) จะทำการเสี่ยงโดยใช้ เหรียญหรือวัตถุกลมแบน ต่อหน้าหัวหน้าทีม  ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงจะ

      ได้สิทธิ์เลือก  “แดน” หรือเลือก “เสิร์ฟ” ผู้แพ้การเสี่ยงต้อง เลือกสิทธิที่เหลือ และทั้งสองทีมต้อง ปฏิบัติตามคำสั่งของกรรมการประจำสนาม (Court 

      Referee )

8.2  ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะต้องอบอุ่นร่างกายก่อนเป็นระยะเวลา 2 นาที ในสนามด้วยลูกตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และตามด้วยทีมที่แพ้การเสี่ยง โดยอนุญาตให้มี

     บุคคลในสนาม  5  คนเท่านั้น

ข้อที่  9  ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก       ( POSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )

    9.1 เมื่อเริ่มเล่น ผู้เล่นทั้งสองทีม ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนดไว้ในแดนของตนในลักษณะเตรียมพร้อม

    9.2 เตกองหรือผู้เสิร์ฟ ต้องวางเท้าข้างหนึ่งอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ

    9.3 ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟต้องยืนในเสี้ยววงกลมของตนเอง

    9.4 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายรับ จะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตนเอง

ข้อที่ 10 การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )

10.1  การแข่งขันจะถูกดำเนินการโดยผู้ตัดสิน ( Match  Referee ) หนึ่งคนโดยอยู่ในตำแหน่งด้านหนึ่งของปลายตาข่าย  ผู้ช่วยผู้ตัดสิน( Assistant Match

         Referee ) หนึ่งคน อยู่ตรงกันข้ามกับผู้ตัดสิน กรรมการประจำสนาม  (Court  Referee )หนึ่งคนอยู่ด้านหลังผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้น ( Linesman ) สองคน

        โดยคนหนึ่งอยู่ทางเส้นข้างด้านขวามือของผู้ตัดสิน และอีกคนหนึ่ง อยู่ทางเส้นข้างด้านขวามือของผู้ช่วยผู้ตัดสิน   ผู้ตัดสินจะได้รับความช่วยเหลือจาก

         กรรมการผู้ชี้ขาด ( Official Referee ) ที่อยู่นอก สนาม   ทีมที่ได้เสิร์ฟก่อนจะเสิร์ฟติดต่อกัน 3 ครั้ง ในขณะที่อีกทีมหนึ่งก็จะได้สิทธิ์  การเสิร์ฟในลักษณะ

        เดียวกัน  หลังจากนั้นให้สลับกันเสิร์ฟทุก ๆ 3 คะแนน ไม่ว่าฝ่ายใดจะได้คะแนนหรือเสีย คะแนน  การดิวส์ เมื่อทั้งสองทีมทำคะแนนได้เท่ากันที่ 14 - 14 

        การเสิร์ฟจะสลับกัน ทุกคะแนน  ทีมที่เป็นฝ่ายรับจากการเริ่มเล่นในเซ็ทใดก็ตาม จะเป็นฝ่ายเริ่มเสิร์ฟก่อน  ในเซ็ทต่อไป และจะต้องเปลี่ยนแดนก่อนเริ่มการ

        แข่งขันในแต่ละเซ็ท

10.2 ผู้ส่งลูกต้องโยนลูกตะกร้อเมื่อผู้ตัดสินขานคะแนน  หากผู้ส่งลูกโยนลูกตะกร้อก่อนที่  ผู้ตัดสินขานคะแนน ผู้ตัดสินต้องตักเตือนและให้โยนใหม่ หากกระทำซ้ำ

       ดังที่กล่าวอีกจะตัดสินว่า “เสีย” ( Fault )

10.3     ระหว่างการเสิร์ฟ ทันทีที่เตกองหรือผู้เสิร์ฟเตะลูกตะกร้อ  จะอนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนเคลื่อนที่ได้ในแดนของตน

10.4     การเสิร์ฟที่ถูกต้องคือลูกตะกร้อจะต้องข้ามตาข่าย ไม่ว่าลูกตะกร้อนั้นจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม และได้ตกลงในแดนหรือขอบเขตของสนามฝ่ายตรงข้าม                        

10.5     ในระบบการแข่งขันแบบแพ้คัดออก ไม่จำเป็นต้องแข่งขันในทีมที่ 3  เมื่อมีผลการแช่งชัน แพ้ – ชนะเกิดขึ้นแล้ว

10.6     ในระบบการแข่งขันแบบพบกันหมด ถือเป็นข้อบังคับสำหรับทุกทีมต้องแข่งขัน  ครบทั้ง 3 ทีม

ข้อที่ 11 การผิดกติกา  (FAULTS) 

11.1 ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟลูก ( The Serving Side During Service )

     11.1.1 ภายหลังจากที่ผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ผู้เล่นหน้าที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดกับลูกตะกร้อ เช่น โยนลูกเล่น  เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้

               เล่นหน้าอีกคนหนึ่ง เป็นต้น

     11.1.2    ผู้เล่นหน้าคนใด ยกเท้าหรือเหยียบเส้นข้าง หรือเส้นกลาง หรือข้ามเส้น  หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสตาข่ายขณะที่โยนส่งลูก

     11.1.3    เตกองหรือผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟในขณะเตะส่งลูก หรือเท้าหลักที่แตะพื้นเหยียบ  เส้นวงกลมก่อนและระหว่างการส่งลูก

     11.1.4 เตกองหรือผู้เสิร์ฟ ไม่ได้เตะลูกที่ผู้โยน โยนไปให้เพื่อการเสิร์ฟ

     11.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นคนอื่นภายในทีมก่อนข้ามไปยังพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม 

     11.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ตกลงนอกเขตสนาม

     11.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้าม

     11.1.8 ผู้เล่นใช้มือข้างหนึ่งข้างใดหรือทั้งสองข้าง หรือส่วนอื่นของแขนเพื่อช่วยในการ เตะลูก แม้มือหรือแขนไม่ได้สัมผัสลูกตะกร้อโดยตรง แต่สัมผัสสิ่งหนึ่ง

               สิ่งใดในขณะกระทำการดังกล่าว

     11.1.9 ผู้ส่งลูกโยนลูกตะกร้อก่อนที่กรรมการผู้ตัดสินขานคะแนน เป็นครั้งที่สอง  หรือครั้งต่อไปในการแข่งขัน

11.2  ฝ่ายเสิร์ฟและฝ่ายรับในระหว่างการเสิร์ฟ( Serving And Reciving Side During Service )

     11.2.1 กระทำการในลักษณะทำให้เสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือตะโกนไปยังฝ่ายตรงข้าม

11.3  สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่ายระหว่างการแข่งขัน ( For Both Side During The Game )                         

     11.3.1 ผู้เล่นสัมผัสลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม

     11.3.2 ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้เล่นล้ำไปในแดนฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะเป็นด้านบน  หรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นระหว่างการเล่นลูกต่อเนื่อง

               ( Follow Through )

     11.3.3 เล่นลูกเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน

     11.3.4 ลูกตะกร้อสัมผัสแขน

     11.3.5 หยุดลูกหรือยึดลูกตะกร้อไว้ใต้แขน หรือระหว่างขาหรือร่างกาย

     11.3.6 ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผู้เล่นหรืออุปกรณ์ เช่น รองเท้า, เสื้อ, ผ้าพันศีรษะ สัมผัสตาข่ายหรือเสาตาข่าย หรือเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงใน

               แดนฝ่ายตรงข้าม

     11.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน, หลังคา  ผนัง หรือวัตถุสิ่งกีดขวางอื่นใด

     11.3.8 ผู้เล่นคนใดใช้อุปกรณ์หรือสิ่งกีดขวางภายนอกอื่นใดเพื่อช่วยในการเตะ

ข้อที่ 12 การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )       

12.1  ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับทำผิดกติกา ( Fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนน

12.2  การชนะในแต่ละเซ็ทผู้ชนะต้องทำคะแนนได้ 15  คะแนน จึงจะถือว่าชนะในการแข่งขันครั้งนั้น ในกรณีแต่ละทีมมีคะแนนเท่ากัน 14 – 14  ผู้ชนะต้องมี

         คะแนนนำที่ต่างกัน  2 คะแนน และสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนนเท่ากัน 14 –14  ผู้ตัดสินต้องขานว่า   “ดิวส์คู่ไม่เกิน 17 คะแนน” 

        ( Setting up to 17 points )

12.3   ประเภททีมเดี่ยว  การแข่งขัน ต้องชนะกัน 3 ใน 5 เซ็ท มีการพักระหว่างเซ็ท  2 นาที และเรียกแต่ละเซ็ทว่า เซ็ทที่หนึ่ง เซ็ทที่สอง เซ็ทที่สาม เซ็ทที่สี่

        และเซ็ทที่ห้า                               

         ประเภททีมชุด การแข่งขันต้องชนะกัน 2 ใน 3 เซ็ท มีการพักระหว่างเซ็ท   2 นาที และเรียกแต่ละเซ็ทว่า เซ็ทที่หนึ่ง เซ็ทที่สอง และเซ็ทที่สาม    

12.4  ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซ็ทที่ห้า ในประเภททีมเดี่ยวและเซ็ทที่สาม ในประเภททีมชุด ให้ผู้ตัดสิน กระทำการเสี่ยง โดยใช้เหรียญหรือวัตถุกลมแบน

        ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นฝ่ายที่เริ่มเสิร์ฟก่อน  เมื่อทีมใดทีมหนึ่งทำคะแนนได้  ถึง  8 คะแนน จะต้องทำการเปลี่ยนแดน

ข้อที่ 13 การขอเวลานอก ( TIME - OUT )

13.1 แต่ละทีมสามารถขอเวลานอกได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที ต่อเซ็ท การขอเวลานอกให้ขอโดยผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอน เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ใน  การเล่น

       ระหว่างการพักเวลานอก  ประเภททีมเดี่ยว จะอนุญาตให้มีผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ทีมอยู่นอกสนามบริเวณเส้นหลังจำนวน 5  คน ประเภททีมชุด จะอนุญาตให้มี

       ผู้เล่นและเจ้าหน้าที่ทีมอยู่นอกสนามบริเวณเส้นหลังจำนวน  6 คน

13.2 ประเภททีมเดี่ยวบุคคลทั้ง 5 คน ประกอบด้วย ผู้เล่น 3 คน และบุคคลที่แต่งกายแตกต่าง จากนักกีฬาอีก 2 คน ประเภททีมชุดบุคคลทั้ง 6 คน ประกอบด้วย

       ผู้เล่น 3 คน และบุคคล ที่แต่งกายแตกต่างจากนักกีฬาอีก 3 คน

ข้อที่ 14 การหยุดการแข่งขันชั่วคราว ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )

14.1 กรรมการผู้ตัดสิน สามารถหยุดการแข่งขันชั่วคราว เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บและ ต้องการ การปฐมพยาบาล โดยให้เวลาไม่เกิน  5 นาที สำหรับแต่ละทีม

14.2 นักกีฬาที่บาดเจ็บจะได้รับการพักไม่เกิน 5 นาที หลังจาก 5 นาทีแล้ว นักกีฬาไม่ สามารถทำการแข่งขันต่อไปได้ ต้องมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น แต่ถ้าทีมที่มี

       นักกีฬาบาดเจ็บ ได้มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ตามกติกาข้อ 7. 4 การแข่งขันจะประกาศให้ทีมตรงข้าม เป็นฝ่ายชนะในการแข่งขันครั้งนั้น

14.3 ในกรณีที่มีการขัดขวาง รบกวนการแข่งขัน หรือสาเหตุอื่นใด กรรมการผู้ชี้ขาดเท่านั้นที่จะ เป็นผู้พิจารณาหยุดการแข่งขัน โดยหารือกับคณะกรรมการจัดการ

       แข่งขัน

14.4  ในการหยุดการแข่งขันชั่วคราว ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนออกจากสนาม และไม่อนุญาต ให้ดื่มน้ำหรือได้รับความช่วยเหลือใด ๆ   

ข้อที่ 15  วินัยและมารยาทในการแข่งขัน  ( DISCIPLINE )

15.1   ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน

15.2   ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นที่จะเป็นผู้ติดต่อกับกรรมการผู้ตัดสิน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตนเอง หรือเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เล่นในทีม

         หรือเรื่องต้องการซักถามเพื่อขอคำอธิบายในการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินต้องอธิบายหรือชี้แจงตามที่หัวหน้าทีมซักถาม

15.3   ผู้จัดการทีม, ผู้ฝึกสอน, นักกีฬา และเจ้าหน้าที่ประจำทีม จะไม่ได้รับอนุญาตให้ประท้วงต่อการตัดสินของกรรมการผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขัน หรือแสดง

         ปฏิกิริยาที่จะเป็น ผลเสียต่อการแข่งขัน หากมีการกระทำดังกล่าวถือเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง

ข้อที่ 16 การลงโทษ ( PENALTY )

การทำผิดกติกาและผิดวินัยจะมีการลงโทษดังนี้ :-

การลงโทษทางวินัย

16.1   การตักเตือน

         ผู้เล่นที่ถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลือง หากมีความผิดข้อหนึ่งข้อใดใน  6 ประการ ดังนี้

       16.1.1 กระทำผิดในลักษณะที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ถูกต้องตามมรรยาทการเป็นนักกีฬาที่ดี ซึ่งพิจารณาได้ว่าการ

                 กระทำนั้นอาจทำให้ เกิดผลที่เป็นอันตรายต่อการแข่งขันได้

       16.1.2 แสดงกิริยาและวาจาที่ไม่สุภาพ

       16.1.3 กระทำผิดกติกาการแข่งขันบ่อย ๆ

       16.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน

       16.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน

       16.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้ตัดสิน

 16.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจาการแข่งขัน

         ผู้เล่นจะถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดง หากมีความผิดข้อใดข้อหนึ่งใน  5 ประการ ดังนี้

        16.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง           

        16.2.2 ประพฤติผิดร้ายแรง โดยเจตนาทำให้ฝ่ายตรงข้ามบาดเจ็บ                                                                                                                      

        16.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น

        16.2.4 มีปฏิกิริยาหยาบคายหรือใช้วาจาหยาบคายหรือดูถูกฝ่ายตรงข้าม                                                           

        16.2.5 ถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองเป็นครั้งที่ 2 ในการแข่งขันครั้งนั้น

16.3  ผู้เล่นที่ถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองหรือให้ออกจากการแข่งขัน ไม่ว่าจะ เป็นความผิดทั้งในและนอกสนามแข่งขันที่กระทำต่อฝ่ายตรง

         ข้าม เพื่อนร่วมทีมกรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่น ๆ ให้พิจารณาโทษทางวินัย ดังนี้  -

16.3.1    ได้รับบัตรเหลืองใบแรก

บทลงโทษ   :  ตักเตือน

16.3.2    ได้รับบัตรเหลืองใบที่สอง ในผู้เล่นคนเดิมในเกมการแข่งขันต่างเกม แต่เป็นรายการแข่งขันเดียวกัน                                                                

   บทลงโทษ   :  พักการแข่งขัน  1 ครั้ง

16.3.3    ได้รับบัตรเหลืองใบที่สาม หลังจากพักการแข่งขัน เพราะได้รับบัตรเหลือง 2 ใบ ในรายการแข่งขันเดียวกันและในผู้เล่นคนเดิม

บทลงโทษ  :  พักการแข่งขัน  2 เกม

 :  ปรับเป็นเงิน 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา  โดยสโมสรหรือ  บุคคลที่ผู้เล่นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ

16.3.4    ได้รับบัตรเหลืองใบที่สี่ 

      ได้รับบัตรเหลือง หลังจากต้องพักการแข่งขัน 2 ครั้ง จากการที่ได้รับ  บัตรเหลืองใบที่สามในรายการแข่งขันเดียวกันและในผู้เล่นคนเดิม

 บทลงโทษ   :  ให้พักการแข่งขันในเกมต่อไป และในรายการแข่งขันที่รับรองโดยองค์กรกีฬาตะกร้อ ที่เกี่ยวข้องจนกว่าจะได้รับ

   การพิจารณาจากคณะกรรมการวินัยในเรื่องดังกล่าว      

16.3.5    ได้รับบัตรเหลือง 2 ใบ ในผู้เล่นคนเดียวกันและในเกมแข่งขันเดียวกัน

บทลงโทษ :  พักการแข่งขัน 2 เกม

               :  ปรับเป็นเงิน 100 เหรียญสหรัฐอเมริกา โดยสโมสรหรือบุคคล ที่ผู้เล่นสังกัดเป็นผู้รับผิดชอบ 

               :  ได้รับบัตรแดงในกรณีทำผิดวินัย หรือกระทำผิดกติกาในการแข่งขัน เกมอื่น ซึ่งอยู่ในรายการแข่งขันเดียวกัน

16.4  ผู้เล่นที่กระทำผิดและถูกให้ออกจากการแข่งขัน ไม่ว่าจะกระทำในสนามหรือนอกสนามแข่งขัน ซึ่งกระทำผิดต่อฝ่ายตรงข้าม, เพื่อนร่วมทีม, ผู้ตัดสิน, ผู้ช่วยผู้ตัดสินหรือบุคคลอื่น โดยได้รับบัตรแดงจะได้รับพิจารณาโทษดังนี้ : -                                                                                                                             

16.4.1    ได้รับบัตรแดง

บทลงโทษ  :  ให้ไล่ออกจากการแข่งขันและพักการแข่งขันในทุกรายการแข่งขันที่ รับรองจากองค์กรที่กำกับดูแลกีฬาเซปักตะกร้อ จนกว่าคณะกรรมการวินัยจะ

    มีการประชุม และพิจารณาในเรื่องดังกล่าว 

ข้อ  17  ความผิดของเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDUCT  OF  TEAM  OFFICIALS )

      17.1 กฎระเบียบด้านวินัย จะใช้กับเจ้าหน้าที่ประจำทีมในกรณีที่ทำผิดวินัยหรือรบกวน คณะกรรมการในระหว่างการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกสนาม

             แข่งขัน

  17.2 เจ้าหน้าที่ประจำทีม ผู้ใดประพฤติไม่สมควรหรือกระทำการรบกวนการแข่งขัน จะถูกเชิญออกจากบริเวณสนามแข่งขัน โดยเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน หรือ

         กรรมการผู้ชี้ขาด และจะถูก พักการปฏิบัติหน้าที่ภายในทีมจนกว่าคณะกรรมการทางวินัยจะมีการประชุมเพื่อพิจารณา ตัดสินปัญหาดังกล่าวแล้ว

ข้อ  18 บททั่วไป ( GENERAL )     

 18.1   ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใด ๆ เกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้กำหนดหรือระบุไว้ในกติกาการแข่งขัน  ให้ถือการตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด

 

กติกานี้ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมของสหพันธ์เซปักตะกร้อนานาชาติ

ISTAF)  เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2554 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

 

 

คณะผู้แปลและเรียบเรียง

ดร.เฉลิม      ชัยวัชราภรณ์

นายธนวัฒน์     ประสงค์เจริญ

นายชวลิต      จิรายุกุล

นายวีระพล    นาคะประวิง

                                    

 

ขอบคุณแหล่งที่มาบทความ

act.chs.ac.th/wordpress/wp-content/.../กติกาเซปักตะกร้อ2554.doc


ความคิดเห็น

  1. 1
    15/06/2017 14:11
  2. 2
    ก้อดีน่ะ
    ก้อดีน่ะ ice_by_53@hotmail.com 12/02/2014 13:39
  3. 3
    เจษฎา
    เจษฎา mk26tm-2556@hotmail.com 01/11/2013 06:54

    สุดยอด

  4. 4
    โกมล  กันยาเถื่อน
    โกมล กันยาเถื่อน komon1508@hotmail.com 14/07/2012 09:07

    โกมล  กันยาเถื่อน ม.1/2 เลขที่ 11    ตะกร้อไทยเป็นกีฬาประเภททีม 3คน กีฬาตะกร้อต้องมีความสามัคคีจึงจะเป็นทีมชาติได้   และต้องมีสมาธิ

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view