http://tukaping.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 บทความ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ21/03/2010
อัพเดท11/03/2024
ผู้เข้าชม759,400
เปิดเพจ1,326,353

ประชาสัมพันธ์

การศึกษา ความรู้ทั่วไป

การท่องเที่ยว

กีฬา

การแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนยางหล่อวิทยาคารต้านยาเสพติด

iGetWeb.com
AdsOne.com

ยิมนาสติก

ยิมนาสติก

 

ประวัติและวิวัฒนาการของกีฬายิมนาสติก

   ยิมนาสติกเริ่มเล่นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานระบุชัดเจน  แต่สันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณเป็นประเทศแรกที่สนใจและมีบทบาทสำคัญต่อกีฬายิมนาสติกซึ่งจะเห็นได้จากคำว่า ยิมนาสติก  ก็เป็นภาษากรีกโบราณ  หมายถึงศิลปะแห่งการเปลือยเปล่า  ทั้งนี้เพราะว่าในสมัยกรีกนั้นการออกก าลังกายทุกประเภทจะไม่สวมเครื่องแต่งกายมีการประกวดทรวดทรง แข่งขันกีฬากลางแจ้ง  ผู้ที่ชนะก็ถูกสร้างรูปปั้นแสดงไว้บริเวณสนามกีฬา  ที่เรียกว่า ยิมเนเซียม  ( Gymnasium )  กิจกรรมทุกประเภทที่มีการเล่นออกก าลังกายจะเล่นอยู่ในยิมเนเซียมทั้งหมด  เช่น  การวิ่ง  การเล่นผาดโผน  ไต่เชือก  กายบริหาร  ศิลปะการต่อสู้  เป็นต้น  และเรียกกิจกรรมทุกประเภทที่ออกก าลังกายว่า  ยิมนาสติก  ดั้งนั้น  ยิมนาสติกในสมัยกรีก  จึงเปรียบเสมือนกับการพลศึกษาในปัจจุบัน  กิจกรรมยิมนาสติกในประเทศกรีกนี้  ได้เริ่มต้นและพัฒนาไปพร้อมกับวิทยาการด้านศิลปะดนตรี  โดยมีวัตถุประสงค เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ  ต่อมาเมื่อกีฬาแต่ละประเภทมีวิวัฒนาการมีกฎ  ระเบียบ  กติกา  ของตนเองขึ้น  จึงแยกตัวออกไป  คงเหลือกิจกรรมยิมนาสติกที่เห็นกันในปัจจุบันต่อมาเมื่อชาวโรมันได้รุกรานประเทศกรีก  ก็ได้นำกิจกรรมยิมนาสติกมาฝึกให้กับทหาร  เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กองทัพ  เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจลง กิจกรรมยิมนาสติกก็ได้รับความสนใจและความนิยมน้อยลงตามไปด้วย  จนกระทั้งถึงยุคกลาง  ( Middle  Age )  ระหว่างศตวรรษที่  14-16  ( พ.ศ. 1943-พ.ศ. 2143 )  กิจกรรมยิมนาสติกของกรีกก็ได้รับการฟื้นฟู  ประชาชนมีความสนใจมากขึ้นเป็นล าดับ   ในสมัยนี้มีการฝึกขึ้นและลงม้าที่ท าจากไม้   มีการแสดงกายกรรม   การเล่นผาดโผน  หรือยืดหยุ่นการทรงตัว  ตามสถานที่สาธารณะ  จึงท าให้กิจกรรมยิมนาสติกแพร่หลายไปในทวีปยุโรปกิจกรรมยิมนาสติกได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริงในศตวรรษที่  18   และ   19  (พ.ศ.  2343-พ.ศ.  2443)  ซึ่งเป็นยิมนาสติกที่ประกอบด้วยอุปกรณต่าง  ๆ  บุคคลส าคัญที่มีส่วนในการพัฒนากีฬายิมนาสติก  ได้แก่

นายโจฮัน  เบสโดว  ( Johann  Basedow  )   ชาวเยอรมัน  ( พ.ศ.2266-พ.ศ.2233 ) เห็น   ประโยชน์และคุณค่าของวิชายิมนาสติก  จึงได้บรรจุวิชานี้ไว้ในหลักสูตรพลศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง  ในปี  พ.ศ.2319และได้ดำเนินการสอนเป็นคนแรก  กิจกรรมที่นำมาสอน  เช่น  การวิ่ง ขี่ม้า  เดินทรงตัวบนคานไม้  ม้าขวาง  และว่ายน ้า  เป็นต้น

นายโจฮัน  กัตส  มัธส  ( Johann  Guts  Muths )  ชาวเยอรมัน(พ.ศ.  2302  -  พ.ศ. 2361)ได้น ากิจกรรมยิมนาสติกสมัยกรีกมาประยุกตกับการออกก าลังกายสมัยใหม่  โดยเขียนเป็นต ารายิมนาสติกเล่มแรกขึ้นเมื่อปี  พ.ศ.  2336  ชื่อ Gymnastic  For  Youth  และได้สร้างโรงยิมเนเซียมแห่งแรกขึ้น  มีกิจกรรมที่ฝึก  ได้แก่  ไม้กระดก  ไต่เชือก  ราวทรงตัว  และม้าขวาง  เป็นต้น  เขาจึงได้สมญาว่า  ปู่แห่งกีฬายิมนาสติก

นายเฟรดริค  จาน  (Frederick  Jahn)  ชาวเยอรมัน(พ.ศ. 2321-  พ.ศ.  2395)  ได้คิดประดิษฐอุปกรณเกี่ยวกับยิมนาสติกไว้มากมาย  เช่น  ราวเดี่ยว  ราวคู่  ม้าหู  หีบกระโดด  ม้ายาวชนิดสั้น  (Buck)  และในปี  พ.ศ.  2345  ได้สร้างสถานที่ฝึกยิมนาสติกโดยเฉพาะเรียกว่า เทอนเวอเรียน  (Tarnverein)  โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล  ท าให้กีฬายิมนาสติกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว  เขาจึงได้สมญาว่า  บิดาแห่งยิมนาสติก

นายอดอฟ  สปีช  (Adolf  spiess)  ชาวสวิส  (พ.ศ.  2535-  พ.ศ.  2401)  เห็นคุณค่าและประโยชนของกีฬายิมนาสติก  ได้บรรจุวิชายิมนาสติกไว้ในหลักสูตรของโรงเรียนในสวิตเซอรแลนด  และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตรของยิมนาสติก

นายดัดเลย  เอ  ซาเกนท  (Dudley  A  Sargen)   ชาวอเมริกา(พ.ศ. 2383-พ.ศ.2467)เป็นครูสอนยิมนาสติกที่วิทยาลัยโบวดอย  (Bowdoin  lleqen)   เขาได้บรรจุยิมนาสติกไว้ในหลักสูตรระดับวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ  นอกจากนั้นยังมีสมาคมที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมกีฬายิมนาสติก  คือ  สมาคม  Y.M.C.A. (The  Young    Men’s  Christian Association)  ได้ท าการติดตั้งอุปกรณยิมนาสติกไว้ในโรงยิมเนเซียม  และมีครูสอนเพื่อบริการแก่สมาชิกที่เข้ามาเล่น  จึงท าให้ยิมนาสติกได้รับความนิยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศในแถบเอเชียที่มีการฝึกอย่างจริงจังคือ  จีน  รัสเซีย  และญี่ปุ่นกีฬายิมนาสติกเริ่มต้นจากประเทศกรีก  เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศเยอรมัน และได้แพร่หลายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยมีผู้สอนเป็นชาวเยอรมัน  กีฬายิมนาสติกเป็นที่นิยมมากในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงท าให้ขาดครูผู้สอน  ดังนั้นในปี  พ.ศ.  2408  ได้มีการตั้งวิทยาลัยยิมนาสติกขึ้นเป็นแห่งแรกที่เมือง  อินเดียนาโปลิส  มลรัฐอินเดียนายิมนาสติกมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิค  ครั้งที่  1  ณ  กรุงเอเธนส  ประเทศกรีก กิจกรรมที่แข่งขัน  เช่น  การวิ่ง  กระโดดสูง  กระโดดไกล  พุ่งแหลน  ว่ายน ้า  ราวเดี่ยว  ราวคู่  คาน-ทรงหัว  และฟรีเอ็กเซอรไซส  เป็นต้น 

..  2430  มีการก่อตั้งสหพันธยิมนาสติกสากลขึ้นที่เมืองลีซ  ประเทศสวิสเซอรแลนด

.2439  มีการแข่งขันยิมนาสติกชายขึ้นเป็นครั้งแรก

.2471  การแข่งขันเพิ่มประเภทหญิง

..  2477  เริ่มบรรจุม้ากระโดดและราวต่างระดับ  เข้าไว้ในการแข่งขันยิมนาสติก

..  2479  ได้ก าหนดให้ชายแข่งขันท่าชุดของแต่ละอุปกรณ  12  ท่า  หญิง  8  ท่า  ทีมหนึ่ง  มีนักกีฬา  8  คน

..  2495  ก าหนดอุปกรณแข่งขันของชาย  มี  6  อุปกรณ์  หญิงมี  4  อุปกรณ  ยิมนาสติกนี้เรียกว่า  ยิมนาสติกสากล  (Artistic  Gymnastics) 

..  2513  มียิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี  (Modern  Rhythmic  Gymnastics) เกิดขึ้น

..  2515  ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหพันธยิมนาสติกสากล




ประวัติความเป็นมาของกีฬายิมนาสติกในประเทศไทย

 การเริ่มเล่นยิมนาสติกในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด   แต่สันนิษฐานว่าเริ่มเล่นในสมัยรัชการที่  5  เพราะในสมัยนี้ได้ส่งคนไปศึกษาต่างประเทศ  เมื่อกลับมาก็ได้นำเอาวิชายิมนาสติกมาเผยแพร่  โดยเริ่มสอนที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า  ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าวิชายิมนาสติกมีประโยชนในการพัฒนาร่างกายและจิตใจ  จึงให้อาจารยร้อยเอกขุนเจนกระบวนหัด  ซึ่งศึกษาวิชานี้มาจากต่างประเทศเปิดสอนยิมนาสติกที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  จัดเป็นวิชาหนึ่งในการสอน  และจัดเข้าไว้ในหลักสูตรโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา  และโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย  

.. 2511   ยิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการพัฒนาขึ้น  เมื่อมี การก่อตั้งสมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่  26 มกราคม  พ.ศ. 2511  คณะกรรมการโอลิมปิกไทยและสหพันธยิมนาสติกสากลรับรอง  เมื่อปี  .. 2515  ประเทศไทยจึงได้รับความร่วมมือจากต่างประเทศ  เช่น  ประเทศญี่ปุ่น  เดนมารค  ส่งนักยิมนาสติกมาสาธิตการเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง

.. 2515  มีการสอนในวิทยาลัยพลศึกษา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอย่างจริงจังและเริ่มมีการแสดงโชวตามสถานที่ต่าง  ๆ  และประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธยิมนาสติกสากล  (F.I.G)  อย่างเป็นทาวการ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ในปีเดียวกัน

..2520  ได้มีการอบรมเกี่ยวกับกติกาและการจัดการแข่งขันแก่ครูอาจารยและผู้สนใจเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกีฬายิมนาสติกมากยิ่งขึ้น  และในปีนี้ได้จัดให้กีฬายิมนาสติกเป็นกีฬาหนึ่งในการแข่งขันกีฬาวิทยาลัยศึกษา

.. 2521  ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาเอเซียนเกมส  ครั้งที่  8  ยิมนาสติกเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง  ซึ่งจัดให้มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรก  ซึ่งก็ได้รับ

ความสนใจเข้าชมรมจากประชาชนและเยาวชนมากพอสมควร  และในปีนี้เองกระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้วิชายืดหยุ่นซึ่งเป็นพื้นฐานของกีฬายิมนาสติก  เป็นวิชา

บังคับในหลักสูตรของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

..   2525  และ  ..  2529  ประเทศไทยได้ส่งนักกีฬายิมนาสติกเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาเอเชียนเกมส  ถึงแม้จะไม่ได้เหรียญรางวัล  แต่ก็เป็นการสร้างประสบการณให้แก่นักกีฬามากขึ้นแต่ถ้าเป็นการแข่งขันในกีฬาซีเกมส  ซึ่งเป็นการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยประสบความส าเร็จในกีฬายิมนาสติกมาก  โดยเฉพาะในประเภทชาย

..  2537  การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส  ครั้งที่  12  ณ  เมืองฮิโรชิมา  ประเทศญี่ปุ่นนักกีฬายิมนาสติกของจีนครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย   และประเภทหญิงสำหรับนักกีฬาของไทยที่เข้าร่วมแข่งขันก็ประสบความส าเร็จใจการแข่งขันอุปกรณห่วงพอสมควร คือ  นายอมรเทพแววแสง

..  2538  การแข่งขันกีฬาซีเกมส  ครั้งที่  18  ณ  จังหวัดเชียงใหม่  ประเทศไทย นักกีฬายิมนาสติกของไทย  ครองความยิ่งใหญ่ทั้งประเภทชาย  และประเภทหญิงโดยได้เหรียญทองทั้งประเภททีม  และประเภทเดี่ยวรวมทุกอุปกรณ  และในแต่ละอุปกรณก็ได้เหรียญทองเกือบทุกประเภทปัจจุบันกีฬายิมนาสติกในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเห็นได้จากการที่นักกีฬาไทยมีอันดับความสามารถอยู่ในอันดับต้น  ๆ  ของภูมิภาคและภายในทวีป

                                                      ลักษณะการเล่นยิมนาสติก

  ยิมนาสติก  (Gymnastics)  เป็นกีฬาประเภทบุคคลซึ่งผู้เล่นจะต้องแสดงท่าต่าง ๆ บนอุปกรณ์หรือบนพื้นราบ  เช่น  การวิ่ง  การกระโดด  การหมุนตัว  การม้วนตัว  การทรงตัว ด้วยมือหรือเท้า  การสปริงตัว  การตีลังกา  การไกวตัว  และการเหวี่ยงตัวแบบต่าง  ๆ  เป็นต้น

ยิมนาสติกนี้เรียกว่า  ยิมนาสติกสากล  แบ่งการแข่งขันออกเป็น  ชาย  6  อุปกรณ์ หญิง  4  อุปกรณ์  ดังนี้

ประเภทชาย  มีการแข่งขัน  6  อุปกรณ  คือ

1.  ฟลอรเอ็กเซอรไซส  (Floor  Exercise)

2.  ม้ายาว  (Long Horse)

3.  ม้าหู  (Side Horse)

4.  ห่วงนิ่ง  (Still  Rings) 

5.  ราวเดี่ยว  (Horizontal Bar)

6.  ราวคู่  (parallel Bars)

ประเภทหญิง  มีการแข่งขัน  4  อุปกรณ์  คือ

1.  ฟลอรเอ็กเซอรไซส  (Floor  Exercise)

2.  ม้าขวาง (Vaulting Horse)

3.  ราวต่างระดับ  (Uneven Parallel Bars)

4.  คานทรงตัว  (Balance Beam)

นอกจากยิมนาสติกสากลที่กล่าวมาแล้ว  ยังมียิมนาสติกลีลาใหม่ประกอบดนตรี (Modarn Rhythmic Gymnastics) ซึ่งเป็นกิจกรรมแสดงประกอบอุปกรณที่อาศัยลีลา การเคลื่อนไหวบนพื้นราบเข้ากับจังหวะดนตรีมีการแข่งขันเฉพาะผู้หญิง  อุปกรณที่ใช้

ประกอบการแสดงมี  5  ชนิด  คือ

1.  เชือก  (Rope)

2.  ลูกบอล  (Ball)

3.  ห่วง (Hoop)

4.  ไม้โยนหรือคลับ (Club)

5.  ริบบิ้น  (Ribbon)

 

ประโยชนของการเล่นยิมนาสติก 

1.  ทางด้านร่างกาย

1.1  ท าให้มีทรวดทรงดี

1.2  ท าให้มีกล้ามเนื้อแข็งแรง

1.3  ท าให้มีการทรงตัวดี

1.4  มีความอ่อนตัว

1.5  มีความคล่องตัว

1.6  ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายท างานประสานสัมพันธกันดี

2.  ด้านจิตใจ

2.1  ทำให้เกิดความสนุกสนาน

2.2  ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

2.3  ทำให้เกิดความกล้าในการตัดสินใจ

2.4  ทำให้มีความสุขุม  รอบคอบ

2.5  ทำให้เกิดความอดทน เพียรพยายาม

2.6  ทำให้มีระเบียบวินัยในตนเอง

3.  ด้านสังคม

3.1  ทำให้มีมนุษยสัมพันธกับผู้อื่น

3.2  ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

4.  ด้านสติปัญญา

4.1 ทำให้พัฒนาความคิด เพราะต้องรู้จักวิเคราะหการเล่นของตนเองกับผู้อื่น

4.2 ทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ถูกต้องและรวดเร็ว ( แก้ปัญหาเฉพาะหน้า )

4.3 ทำให้มีสมาธิ

การดูแลรักษาอุปกรณ์ให้ห้องเรียน

1.  เก็บอุปกรณให้เรียบร้อย

2.  ทำความสะอาดห้องและอุปกรณ

3.  หลังเรียนเสร็จหรือฝึกเก็บอุปกรณให้เรียบร้อย

4.  ไม่สวมรองเท้าขึ้นเบาะ

5.  การน าอุปกรณออกมาใช้และเก็บเข้าที่ จะต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่ลากไปกับพื้น  หรือโยน

6.  หมั่นตรวจตรา ดูแล และซ่อมแซมก่อนนำมาใช้

7.  ในการฝึกจะต้องไม่สวมใส่ของประดับ

 

การปฐมพยาบาล  การบาดเจ็บจากการเล่น

การปฐมพยาบาลกล้ามเนื้อฉีก  ข้อต่อเคล็ด  ควรปฏิบัติดังนี้

1.  ประคบด้วยความเย็น  เพื่อห้ามเลือด  ใช้ผ้ารองน ้าแข็งแล้วน าไปประคบประมาณ   20  -   30  นาทีหรือเมื่อรู้สึกปวดก็ยกออกประมาณ  30  วินาที  เพื่อให้เกิดความอบอุ่นบริเวณที่บาดเจ็บ  แล้วค่อยประคบใหม่สลับกันไป

2.  พันด้วยผ้า  เพื่อลดการบวมและกระจายการห้อเลือด

3.  ตอนกลางคืนให้ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูงกว่าปกติ เช่นที่ข้อเท้าก็ให้วางข้อเท้า บน หมอน  เพื่อให้เลือดดำไหลคืนสู่หัวใจได้ดีขึ้น  ( ร่างกายน าไปฟอกใหม่  )

4.  ไม่ควรให้บริเวณนั้นรับน ้าหนัก  เช่นที่ข้อเท้าก็ไม่ควรเดินมาก

5.  เมื่อครบ  24  ชั่วโมงแล้วค่อยใช้น ้ามันนวดบริเวณนั้นเบา ๆ  เพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงส่วนนั้น

การปฐมพยาบาลแผลเลือดออก

1.  ห้ามเลือดโดยใช้สำลี  ผ้า  กดที่บาดแผล  ยกส่วนที่เป็นแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ

2.  ทำความสะอาดบาดแผลโดยใช้น้ำที่สะอาด

3.  เช็ดด้วยส าลีชุบแอลกอฮอล  บริเวณรอบ ๆ แผล

4. ใส่ยาสำหรับแผลสด  เช่นยาแดง

5.  ถ้าแผลใหญ่ให้นำส่งโรงพยาบาล

การให้ความช่วยเหลือในขณะเล่น  ด้วยมือเปล่า

 

1.  ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องมีทักษะและความช านาญพิเศษ

2.  ต้องเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา

3.  จะต้องรู้ว่าผู้เล่น จะท าท่าอะไรและจะช่วยเหลือวิธีไหน

4.  รู้ต าแหน่งการยืน  การจับ  การยก

5.  รู้จังหวะในการท าในแต่ละท่า

6.  รู้ขีดความสามารถของเด็กแต่ละคนไม่ว่าการท าและการตัดสินใจ

7.  มีสติและสมาธิในการช่วยเหลือ

 

ความปลอดภัยในการเล่นยิมนาสติก

 

             การฝึกซ้อม  การเล่นหรือการแข่งขันกีฬาก็ตาม   ย่อมจะต้องมีการผิดพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นกีฬาประเภทใดหรือชนิดใดก็ตาม  มากบ้างน้อยบ้างตามแต่สภาพของสิ่งแวดล้อมและชนิดของกีฬานั้น ๆ เข้าหลักที่ว่า   สิ่งที่มีประโยชนย่อมมีโทษ  เมื่อผู้นั้นปฏิบัติไม่ถูกต้องหรือของความระมัดระวัง หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจ  แทนที่จะเป็นประโยชนอาจเป็นโทษได้        การกีฬาเป็นสิ่งที่ดีสอนให้คนเป็นคน ให้รู้จักการเคารพในระเบียบวินัย กฎกติกา และการเข้าสังคม ในเวลาเดียวกันหากผู้เล่นหรือผู้แข่งขันขาดความเข้าใจ  ไม่เคารพในระเบียบและกฎกติกาต่าง ๆ ก็ย่อมจะเป็นโทษทันที  บางครั้งอาจถึงตายหรือพิการได้ ซึ่งเป็นการท าลายสุขภาพร่างกายตนเองหรือไม่เช่นนั้นก็ต้องขาดเพื่อน  ขาดมิตรสหาย  เมื่อไม่มีน ้าใจเป็นนักกีฬา

 

ขอบคุณที่มาบทความ

 http://www.phibun.ac.th

แบบทดสอบบทเรียน      

  คำสั่ง      จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว 

1 ชาวเอเธนส์ยึดยิมนาสติกในการบริหารบ้านเมืองเพื่ออะไร

ก   ผลิตนักกีฬา                                            

ข.  ผลิตครูพลศึกษา  

ค   เพื่อการปกครอง

ง   พัฒนาร่างกายประชาชนให้แข็งแรง

2 ใครเป็นผู้เขียนตาราเกี่ยวกับยิมนาสติกคนแรก

ก   โจฮัน  กัธ  มัธส์                         ข   โจฮัน  เบสโดว์

ค   อะดอล์ฟ  สปีส                         ง   ฟริดริช  จาน

3 กระทรวงธรรมการ  ( ศึกษาธิการ )  ตั้งศูนย์ฝึกยิมนาสติก ครั้งแรกที่สถานศึกษาใด

ก  เทพศิรินทร์                                                ข   วิทยาลัยพลศึกษา

ค   บ้านสมเด็จเจ้าพระยา             ง   สวนกุหลาบวิทยาลัย

4. ยิมนาสติกเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยทักษะเบื้องต้นอะไร

ก.  การทรงตัว                                ข   การม้วนตัว

ค.   การเหวี่ยงตัว                          ง    ถูกทุกข้อ

5. ยิมนาสติกควรจะเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยใด

ก.  วัยผู้ใหญ่                                  ข.  วัยชรา

ค.  วัยเด็ก                                       ง.  วัยรุ่น

6. ปัจจุบันประเทศไทยจัดยิมนาสติกเป็นวิชาบังคับในการศึกษาระดับใด

ก.  วิทยาลัย                                   ข.  ประถมศึกษา

ค.  มหาวิทยาลัย                           ง.  มัธยมศึกษาตอนต้น

7.ผู้ฝึกยิมนาสติกควรปฏิบัติข้อใดก่อนการฝึก

ก.  อบอุ่นร่างกาย                          ข.  สำรวจอุปกรณ์

ค.  ท่าง่ายไปท่ายาก                     ง.  ต้องมีผู้ช่วยเหลือ

8. นั่งย่อเข่ายืนย่อตัวเพื่อม้วนหน้า น้ำหนักตัวอยู่บนส่วนใดของเท้า

ก.  ส้นเท้า                                       ข.  อุ้งเท้า

ค.  ปลายเท้า                                  ง..  เต็มฝ่าเท้า          

9. เมื่อเริ่มการม้วนหน้าต้องม้วนไปตามส่วนโค้งของลาตัว ส่วนใดสัมผัสพื้นก่อน

ก.    คอ                                           ข.  หลัง

ค.    ตะโพก                                    ง.   ส่วนหลังของศีรษะ

10. นั่งงอเข่าม้วนหลังมือทั้งสองยกมือขึ้นระดับใด       

ก.    อก                                           ข. ใบหู

ค.    ไหล่                                         ง.   ศีรษะ

11. การเริ่มม้วนหลังยกมือทั้งสองขึ้นหงายฝ่ามือขึ้นบน  นิ้วมือชี้ไปทิศทางใด

ก.    ด้านข้างนอกลาตัว                ข.  ด้านในเข้าหากัน

ค.    ตามถนัด                                ง.   หลัง

12. จังหวะการม้วนหลัง ส่วนใดสัมผัสเบาะก่อน

ก.    คอ                                           ข.   ไหล่

ค.    หลัง                                         ง.    ตะโพก

13. การหกกบถือว่าเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางกายด้านใด

ก.  กำลัง                                         ข.  การทรงตัว

ค.  ความคล่องตัว                          ง.  ความแข็งแรง

14. วางมือบนพื้นของการหกกบนิ้วมือชี้ไปทิศทางใด

ก.  หน้า

ข.  หลัง

ค.  หันเข้าหากัน

ง.  ข้างหน้าหันเข้าหากันเล็กน้อย

15. เมื่อขึ้นหกกบต้องเอนตัวไปหน้าทิ้งน้าหนักตัวอยู่ที่ใด

ก.  อก                                             ข.  เขา

ค.  ศีรษะ                                        ง.  แขนทั้งสอง

16. การเหวี่ยงตัวทำล้อเกวียน ต้องชูแขนขึ้นหันฝ่ามือไปทิศทางใด

ก.  บน                                             ข.  ล่าง

ค.  หลัง                                           ง.  หน้า

17. การทำล้อเกวียน ชูแขนขึ้นระดับใด

ก.  อก                                             ข.  ไหล่

ค.  ใบหน้า                                      ง.  ศีรษะ

18. การปฐมพยาบาลกล้ามเนื้อฉีก ข้อเคล็ด ควรปฏิบัติข้อใดก่อน

ก.    นอนพัก                                   ข.  ใช้ผ้าพัน

ค.    ใช้ยานวด                               ง.   ประคบด้วยความเย็น

19. กีฬาโอลิมปิก จัดห่างกันกี่ปีต่อครั้ง

ก.    1  ปี                                   ข.    2 ปี

ค.    3  ปี                                   ง.    4 ปี

20. กีฬาโอลิมปิกฤดู  ครั้งที่ 31 ประจำปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) จะจัดที่ใด

ก.    ประเทศบราซิล                      ข.   ประเทศเยอรมัน

ค.    ประเทศแคนนาดา                   ง.   ประเทศสหรัฐอเมริกา

ความคิดเห็น

  1. 1
    05/04/2020 23:23

    อยากทราบวิธีการฝึกจากอุปกรณ์ ห่วงนิ่งคะ ว่ามีการฝึกอย่างไร


  2. 2
    ถ
    thanawatsitsakul99@gmail.com 01/12/2019 22:48
  3. 3
    sun
    sun ืnat.nat_n@hotmail.com 18/03/2018 16:34

    มีเฉลยมั้ยค้า


  4. 4
    benz of clash of kings
    benz of clash of kings benz78910@outlook.com 25/06/2016 15:42

    55


  5. 5
    28/09/2015 20:33
  6. 6
    ณัฐมล   เสนาลา  ม.1/2

    ได้ความรู้เเละความเป็นมาของยิมนาสติก

  7. 7
    วรสิทธิ์  ศรีสุทำ

    สนุกมากครับ

  8. 8
    คนึงนิจ  ศรีสุทำ

    ได้รูัความหมายของยิมนาสติก

  9. 9
    พิกุลแก้ว   ศรีษะ

    ได้รู้จักท่ายิมนาสติก

  10. 10
    ด.ญ.บุษกร  แสงจันทร์

    ได้รู้เรื่องยิมนาสติก

 1  2  3 [Next]

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view